ระดับการป้องกัน (Degree of Protection) เป็นการบอกถึงความสามารถในการป้องกันอันตรายของอุปกรณ์ไฟฟ้า
ที่เกิดจากการสัมผัสส่วนที่มีไฟไม่ว่าโดยตรง หรือสอดวัตถุเข้าไป
รวมทั้งป้องกันความเสียหายจากของเหลวที่เข้าไปในตัวเครื่องอีกด้วย
รายละเอียดของการป้องกันจะแทนด้วยตัวเลข 2 หลัก ตามหลังอักษร
IP เรียกสั้นๆ ว่ารหัส IP
IP
(Index of Protection) กำหนดโดยมาตรฐาน IEC529 และ DIN40050
โดยรหัสเลขตัวแรกจะบอกความสามารถ ในการป้องกันอันตรายจากของแข็ง
รหัสเลขตัวที่สองจะบอกความสามารถในการป้องกันอันตรายจากของเหลว
ความหมายของตัวเลข แต่ละหลักแสดงดังตาราง
รหัส
|
รหัสตัวแรก
สามารถป้องกันของแข็ง
|
รหัสตัวที่สอง
สามารถป้องกันของเหลว
|
0
|
ไม่มีการป้องกัน
|
ไม่มีการป้องกัน
|
1
|
สามารถป้องกันของแข็งที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า
50 มม. ที่มากระทบไม่ให้ลอดเข้าไปข้างในได้
|
สามารถป้องกันน้ำที่ตกลงมาในแนวดิ่งได้
|
2
|
สามารถป้องกันของแข็งที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า
12 มม. ที่มากระทบไม่ให้ลอดเข้าไปข้างในได
|
สามารถป้องกันน้ำที่ตกลงมาในแนวดิ่ง
และในแนวที่ทำมุม 15 องศากับแนวดิ่งได้
|
3
|
สามารถป้องกันของแข็งที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า
2.5 มม. ที่มากระทบไม่ให้ลอดเข้าไปข้างในได
|
สามารถป้องกันน้ำที่ตกลงมาในแนวดิ่ง
และในแนวที่ทำมุม 60 องศากับแนวดิ่งได
|
4
|
สามารถป้องกันของแข็งที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า
1.0 มม. ที่มากระทบไม่ให้ลอดเข้าไปข้างในได
|
สามารถป้องกันน้ำหยดหรือน้ำที่สาดมาจากทุกทิศทางได้
|
5
|
สามารถป้องกันฝุ่นได้
|
สามารถป้องกันน้ำที่ถูกฉีดมาตกกระทบในทุกทิศทางได้
|
6
|
สามารถป้องกันฝุ่นได้อย่างสมบูรณ์
|
สามารถป้องกันความเสียหายที่เกิดจากคลื่นของน้ำทะเล
หรือสามารถป้องกันน้ำท่วมได้ชั่วคราว
|
7
|
-
|
สามารถป้องกันความเสียหายที่เกิดจากน้ำท่วมได้
|
8
|
-
|
สามารถป้องกันความเสียหายที่เกิดจากน้ำท่วมอย่างถาวรได้
|
เช่น
IP43 หมายถึงสามารถป้องกันของแข็งที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า
1 มม. ไม่ให้ลอดเข้าไปข้างในได้ และยังสามารถป้องกันน้ำฝน ที่ตกลงมาในแนว
60 องศากับแนวดิ่งได้ รหัส IP พบเห็นได้จากอุปกรณ์ไฟฟ้าหลายประเภทเช่น
Load center , Consumer หรือตู้ Switchboard เป็นต้นหรืออาจกำหนดไว้ในแบบไฟฟ้าเพื่อให้ผู้ทำการติดตั้ง
เลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมและปลอดภัย ในบางประเทศอาจใช้รหัส
IP ถึง 3 หลักโดยเลขรหัสตัวที่ 3 จะบอกถึงความสามารถ ในการป้องกันการถูกกระแทกทางกล
แต่ในประเทศไทยที่พบเห็นทั่วไปใช้เพียง 2 หลักเท่านั้น
นอกจากกำหนดระดับการป้องกันด้วยรหัส
IP แล้วอาจพบอุปกรณ์ที่มีการกำหนดตามมาตรฐานอื่นเช่น NEMA ซึ่งเป็นมาตรฐานของสมาคมผู้ประกอบการไฟฟ้าสหรัฐอเมริกาโดยระบุชนิดเครื่องห่อหุ้ม
(Enclosure) และมีรายละเอียดดังนี้
ข้อกำหนด
|
การนำไปใช้งาน
|
NEMA
|
เทียบกับรหัส
IP
|
ไม่มีเครื่องห่อหุ้ม |
ไม่มีการป้องกัน |
0 |
IP00 |
วัตถุประสงค์ทั่วไป |
ใช้ติดตั้งในอาคาร |
1
1 ** |
IP3
IP2 |
ทนหยดน้ำ |
บริเวณที่มีของเหลวจำนวนเล็กน้อยตกเหนือเครื่องห่อหุ้ม
และยอมให้ความชื้นเข้าไปภายในได้ |
2
2 ** |
IP31
IP21 |
กันฝุ่น,
กันฝน, ต้านทานลูกเห็บ |
บริเวณที่มีทั้งฝุ่นและฝน
อาจใช้นอกอาคารเช่นอู่ต่อเรือ หรือในอุโมงค์ |
3 |
IP66*
ทนสนิม |
ทนฝน,
ต้านทานลูกเห็บ |
ติดตั้งนอกอาคารใช้งานภายใต้ฝน
และลูกเห็บ |
3R
3R ** |
IP34*
ทนสนิม
IP24* ทนสนิม |
กันฝุ่น,
กันฝน, ทนลูกเห็บ |
ใช้นอกอาคารในสภาวะที่มีลูกเห็บตก |
3S |
IP66*
ทนสนิม |
กันน้ำ,
กันฝุ่น |
ใช้กับอุปกรณ์ที่ต้องล้างทำความสะอาด
ทำด้วยสแตนเลส |
4 |
IP66*
ทนสนิม |
กันน้ำ,
กันฝุ่น, ต้านทานการกัดกร่อน |
ทำด้วยวัสดุทนการกัดกร่อนสูงใช้ในอุตสาหกรรมเคมี
โรงปุ๋ย โรงงานกระดาษ |
4X |
IP66*
กันน้ำทะเล |
กันฝุ่น,
กันน้ำ, อยู่ใต้น้ำ |
ใช้กับอุปกรณ์ที่อยู่ใต้น้ำ |
6 |
IP68 |
กันฝุ่น,
กันหยดน้ำ |
ใช้ในงานอุตสาหกรรมที่เปื้อนน้ำมัน |
12 |
IP65 |
กันน้ำมัน,
กันฝุ่น |
ป้องกันน้ำมันและฝุ่นเข้าซึ่งจะทำลายอุปกรณ์ขณะทำงาน
|
13 |
IP65
มีปะเก็นต้านทานน้ำมัน |
*
การป้องกันลูกเห็บ ตามมาตรฐาน
IEC144 ไม่ได้กำหนดไว้
** ระบายความร้อน
อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เป็นผลิตภัณฑ์จากอเมริกาและมีขายในเมืองไทยจะกำหนดตามมาตรฐาน
NEMA เช่นยี่ห้อ squareD เป็นต้น การเลือกอุปกรณ์มาใช้อาจพิจารณาจากตารางข้างล่าง
ตารางเลือกตู้จ่ายกระแสไฟฟ้าไปใช้งานตามมาตรฐาน
NEMA
ความสามารถในการป้องกัน
เมื่อติดตั้งในบริเวณต่างๆ
|
Type
of Enclosure
|
1
|
3R
|
3S
|
4
|
4X
|
5
|
12
|
ป้องกันการสัมผัสโดยตรงกับอุปกรณ์ภายในตู้
หลังจากปิดฝาตู้แล้ว |
x
|
x
|
x
|
x
|
x
|
x
|
x
|
บริเวณที่มีฝุ่นละอองฟุ้งกระจาย |
x
|
x
|
x
|
x
|
x
|
x
|
x
|
บริเวณที่มีน้ำหยดและมีละอองน้ำบางๆ |
-
|
x
|
x
|
x
|
x
|
x
|
x
|
บริเวณที่มีลมพัดฝุ่นละออง |
-
|
-
|
x
|
x
|
x
|
x
|
-
|
บริเวณที่มีการหมุนเวียนของฝุ่นละออง |
-
|
-
|
x
|
x
|
x
|
-
|
x
|
บริเวณที่มีการฉีดพ่นละอองน้ำ |
-
|
-
|
x
|
x
|
x
|
-
|
-
|
บริเวณที่มีการรั่วซึมของน้ำมันเชื้อเพลิงหรือน้ำมันหล่อเย็น
|
-
|
-
|
-
|
-
|
-
|
-
|
x
|
บริเวณที่มีฝนตก,หิมะตกและฝนตกหนักแบบมีลูกเห็บ
|
-
|
x
|
x
|
x
|
x
|
-
|
-
|
บริเวณที่มีลมพัดฝุ่นละอองอย่างรุนแรง |
-
|
x
|
x
|
x
|
x
|
-
|
-
|
บริเวณที่มีการกัดกร่อน
หรือเกิดการขึ้นสนิม |
-
|
-
|
-
|
-
|
x
|
-
|
-
|
หมายเหตุ
x
= แนะนำให้ใช้
กลับไปหน้าแรกโฮมเพจออกแบบระบบไฟฟ้า
|