การเดินสายไฟด้วยเข็มขัดรัดสาย ปกติแล้วการเดินสายไฟฟ้าด้วยเข็มขัดรัดสายเรียกได้ว่าเป็นการเดินสายบนผิวอาคาร
ซึ่งใช้กับสายทั้งชนิดแกนเดียว และสายแบน (สาย VAF) ทั้งแบบ
2 แกนและ 3 แกน ใช้เดินภายในอาคารทั่วไป แต่ถ้าต้องการเดินนอกอาคารจะยอมให้เฉพาะบริเวณ
ใต้ชายคา หรือกันสาด
เครื่องมือ - อุปกรณ์ที่ต้องใช้
|
ค้อนเดินสาย
ใช้สำหรับตอกตะปู หัวค้อนทำด้วยเหล็กชุบแข็ง หนักประมาณ
100 - 250 กรัม หน้าค้อนเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ด้ามค้อนทำด้วยไม้
การจับค้อนควรจับบริเวณปลายด้ามค้อน เพื่อช่วยให้มีแรงตอกมากขึ้น
นอกจากนี้ยังใช้กะระยะห่างของเข็มขัดรัดสายโดยใช้ระยะ 1
หัวค้อน หรือบวกเพิ่มอีกเล็กน้อยประมาณ 1 - 4 เซนติเมตรตามต้องการ |
|
ตลับเมตร
ใช้วัดระยะในการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า มีความยาวหลาย ขนาดให้เลือกใช้
แต่โดยทั่วไปจะใช้ขนาดยาว 2 เมตร เมื่อดึงแถบเทปออกมา จะมีปุ่มสำหรับล็อคเทปไว้
เมื่อคลายปุ่มล็อค เทปจะม้วนกลับโดยอัตโนมัติ การใช้งานห้ามดึงเทปออกมายาว
เกินกว่าขีดกำหนด มิฉะนั้นเทปอาจหลุดออก จากตลับหรือไม่สามารถม้วนกลับได้ |
|
สว่านไฟฟ้า
ควรเป็นแบบกระแทกที่เลือกปรับได้ทั้งใช้เจาะรูวัสดุทั่วไป
(เช่น โลหะ, ไม้, พลาสติก) และเจาะคอนกรีต สว่านบางชนิดยังสามารถปรับความเร็ว
ได้ด้วย |
|
บิดหล่า
ใช้เจาะรูไม้ก่อนที่จะขันสกรูเกลียวปล่อยเพื่อยึดอุปกรณ์ไฟฟ้า
ควรใช้บิดหล่าเจาะรูนำ ให้มีขนาดเล็กกว่าขนาดสกรู |
|
ไขควง
ที่ใช้ในงานไฟฟ้าด้ามจับต้องหุ้มด้วยฉนวนมิดชิด มีทั้งไขควงปากแบน
และไขควงปากแฉก นอกจากนี้ควรมีไขควงวัดไฟ เพื่อใช้ตรวจสอบสายไฟว่า
มีไฟหรือไม่และยังใช้ตรวจไฟรั่วของอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ด้วย การใช้ไขควงวัดไฟ
ห้ามใช้กับแรงดันที่สูงกว่าค่าที่ระบุบนด้ามไขควง |
|
มีด
ใช้สำหรับปอกฉนวนของสายไฟ การปอกสายไฟด้วยมีดควรปอกเฉียงๆ
คล้ายการเหลาดินสอทำมุมไม่เกิน 60 องศา เพื่อไม่ให้คมมีดบาดตัวนำจนขาด
|
|
คีมรวมหรือคีมผสม
ใช้ในงานตัดสายไฟ ตัดลวดเหล็ก ตัดปลายตะปู จับชิ้นงาน |
|
คีมปากจิ้งจก
หรือคีมปากยาว
ใช้ในงานหยิบจับสิ่งของขนาดเล็ก |
|
คีมตัด
ใช้ตัดสายไฟที่มีและไม่มีฉนวนหุ้ม คีมตัดบางชนิดมีรูล็กๆ
สำหรับปอก ฉนวนของสายไฟได้ด้วย |
|
เหล็กนำศูนย์
ใช้ในการเดินสายบนคอนกรีต
โดยใช้เหล็กนำศูนย์ตอกคอนกรีต ให้เป็นหลุมเล็กๆ ก่อนแล้วจึงตอกตะปูยึดเข็มขัดรัดสายลงไปจะช่วยให้การตอก
ตะปูทำได้ง่ายขึ้น อาจใช้ตะปูตอกคอนกรีตเจียรปลายให้เล็กและแหลมแทนการ
ใช้เหล็กนำศูนย์ได้ |
|
เหล็กส่ง
ทำด้วยเหล็สกัดปากตัดหรือเหล็กเส้นแบนยาวประมาณ 7-10 ซม.
ใช้ตอกเข็มขัดรัดสายกรณีเดินสายชิดมุมผนัง |
|
สกัด
ใช้เมื่อต้องการสกัดผนังคอนกรีตเพื่อฝังกล่องสวิตซ์หรือปลั๊ก
|
|
เลื่อย
อาจจำเป็นต้องใช้ในการตัดวัสดุมี 2 แบบคือ เลื่อยลันดาสำหรับตัดไม้
และเลื่อยตัดเหล็ก |
|
มัลติมิเตอร์
ใช้ในการตรวจวัดแรงดันไฟฟ้า
ตรวจสอบวงจรและตรวจสภาพ ของอุปกรณ์ไฟฟ้า |
|
ปักเต้า
ใช้ในการตีแนวเส้นก่อนตอกตะปูยึดเข็มขัดรัดสาย ช่วยให้ได้แนวสาย
ที่ตรงสวยงาม ภายในปักเต้าจะประกอบด้วยเส้นด้ายและสีฝุ่น
เมื่อดึงเส้นด้าย ออกมาทาบกับผนังหรือเพดานและขึงให้ตึง
ณ จุดที่ต้องการ จากนั้นดึงด้ายขึ้น แล้วดีดกลับไปยังผนังก็จะเห็นแนวเส้นตามต้องการ |
เข็มขัดรัดสายและตะปู
|
ทำด้วยอลูมิเนียมบางๆ
มีรูตรงกลางสำหรับตอกตะปูยึดกับผนัง ขนาดเข็มขัดรัดสายตามมาตรฐานจะระบุเป็นเบอร์คือ
เบอร์ 0, 1, 2, 3, 4, 5 และ 6 เข็มขัดรัดสายเบอร์ 0 จะมีขนาดเล็กที่สุดและเบอร์
6 มีขนาดโตสุด โดยเบอร์ 3 ขึ้นไปจะมีรูสำหรับตอกตะปู 2 รู
ในการยึดเข็มขัดรัดสาย จะใช้ตะปูขนาดเล็กยาว 3/8 นิ้ว ตอกยึดกับผนัง
ในท้องตลาดปัจจุบันอาจพบเข็มขัดรัดสายที่มีเบอร์ต่างไปจากที่กำหนด
แต่ก็สามารถใช้ได้เช่นกัน |
การเลือกขนาดเข็มขัดรัดสายให้เหมาะกับสายไฟฟ้า
เบอร์
|
พื้นที่หน้าตัดสาย
VAF (ตร.มม)
|
จำนวนสาย
|
0
|
1.0
|
1
|
1
|
1.5
หรือ 2.5
|
1
|
2
|
1.0
1.0 และ 1.5
|
2
1,1
|
3
|
2.5
|
2
|
4
|
2.5
1.5 และ 2.5
|
3
1,2
|
5,6
|
ใช้รัดสายไฟหลายเส้นที่เดินเรียงกัน
ตามความเหมาะสม
|
-
|
การเลือกขนาดสายที่ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า
ให้พิจารณาจากกระแสของอุปกรณ์นั้นๆ แต่สำหรับสายที่เดินเข้าหลอดไฟและปลั๊กในบ้านพักอาศัยทั่วไปอาจใช้ค่าประมาณคือ
อุปกรณ์ไฟฟ้าต่อ
1 หน่วย
|
พื้นที่หน้าตัดของสายตัวนำทองแดง
(ตร.มม)
|
1. หลอดฟลูออเรสเซนต์หรือหลอดไส้
2. สายไฟเข้าปลั๊ก
3. สายไฟเข้ามอเตอร์
4. สายไฟเข้าเครื่องปรับอากาศ
5. สายเมนย่อย
6. สายเมนใหญ่ |
1.0
1.5
ไม่ต่ำกว่า 2.5
ไม่ต่ำกว่า 4.0
ไม่ต่ำกว่า 2.5
ไม่ต่ำกว่า 4.0
|
ข้อควรรู้ในการเดินสาย
1. สายไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่ใช้งานเป็นสาย VAF 2 แกนและ 3 แกน (สำหรับระบบที่ติดตั้งสายดิน)
2. ระยะห่างระหว่างเข็มขัดรัดสาย ถ้าเดินบนพื้นไม้ 10 - 12 เซนติเมตร
ถ้าเดินบนพื้นปูน 8 - 10 เซนติเมตร
3. ระยะห่างจากเข็มขัดรัดสายก่อนถึงอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าประมาณ
2.5 - 3 เซนติเมตร
4. ระยะของเข็มขัดรัดสายช่วงหักฉากวัดจากมุมฉากถึงเข็มขัดรัดสาย
2.5 - 3 เซนติเมตร
5. การงอสายต้องมีรัศมีความโค้งไม่น้อยกว่า 5 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางของเปลือกนอก
เพื่อป้องกันเปลือกนอกของสายชำรุด
6. เมื่อรัดสายแล้ว หัวเข็มขัดรัดสายควรอยู่กึ่งกลางสายเพื่อความสวยงาม
7. ก่อนตอกตะปู ควรหันหัวเข็มขัดรัดสายออกจากผนัง
8. การตอกตะปูยึดเข็มขัดรัดสายที่ชิดมุม ควรใช้เหล็กส่งช่วย
9. สายที่เดินเข้าอุปกรณ์หรือกล่องต่อสายควรเผื่อปลายไว้ประมาณ
10 - 15 เซนติเมตร และให้ฉนวนชั้นนอกเลยเข้าไปในกล่อง ประมาณ
1 เซนติเมตร
10. สายสีดำใช้เป็นสายมีไฟ (Line) สายสีเทาเป็นสายนิวทรัล
11. การคลี่สายออกจากม้วนให้คลายออกทีละรอบ ไม่ควรดึงสายออกจากขดเพราะสายจะบิดงอ
ยากในการรีดสายให้ตรง
12. ควรตอกตะปูยึดเข็มขัดรัดสายให้เสร็จก่อน แล้วจึงเดินสายไฟทีหลัง
13. การใส่ตะปูลงในเข็มขัดรัดสายให้หงายเข็มขัดรัดสายด้านหยาบขึ้นแล้วจึงสอดตะปูลงไปแล้วพับหัวลงมาดังรูป
ขั้นตอนการเดินสาย
1. กำหนดตำแหน่งของอุปกรณ์ตามแบบแปลนเช่น สวิตซ์, ปลั๊ก, ดวงโคมและแผงจ่ายไฟ
2. ความสูงของสวิตซ์จากพื้นถึงกึ่งกลางแป้นรองสวิตซ์ 1.20 เมตร
3. ความสูงของปลั๊กจากพื้นถึงกึ่งกลางแป้นรองปลั๊ก 30 เซนติเมตร
(หรือตำแหน่งที่น้ำท่วมไม่ถึง) หรืออยู่ระดับเดียวกับสวิตซ์
4. ความสูงของแผงจ่ายไฟจากพื้นถึงกึ่งกลางแผงจ่าย 1.80 เมตร
5. ตีแนวเส้นโดยใช้ปักเต้า
6. ตอกตะปูยึดเข็มขัดรัดสายไปตามแนวเส้น
7. เดินสายไฟ
8. ติดตั้งอุปกรณ์
9. ต่อวงจร
10. ทดสอบวงจร
กลับไปหน้าแรกโฮมเพจออกแบบระบบไฟฟ้า
|