แสง
- ตา และการมองเห็น
แสงเป็นพลังงานที่ทำให้เกิดการมองเห็น
ในทางฟิสิกส์ถือว่าแสงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว
ประมาณ 300,000 กม./วินาที มีคุณสมบัติในการกระจายพลังงานออกมาที่ความยาวคลื่นต่างๆ
กัน แหล่งกำเนิดแสงธรรมชาติ ที่รู้จักกันดีคือดวงอาทิตย์ซึ่งให้พลังงานออกมาที่ความยาวคลื่นต่างๆ
กว้างมากตั้งแต่รังสีคอสมิกจนถึงคลื่นวิทยุ ดังรูป

แต่แถบพลังงานที่มีอิทธิพลต่อตาคนเราและทำให้เกิดการมองเห็นเป็นเพียงช่วงแคบๆ
ระหว่าง 380 - 780 นาโนเมตร เราเรียกช่วงของการกระจายนี้ว่า
Visible spectrum
ช่วงความยาวคลื่นเหล่านี้เราสามารถแยกให้เห็นแถบของการกระจายพลังงานอย่างกว้างๆได้
7 แถบ แต่ละแถบของการกระจาย พลังงานเรียกว่า Spectrum ช่วงการกระจายที่ต่างกันทำให้เรามองเห็นสีต่างกันดังตารางข้างล่าง
แสงสี
|
ความยาวคลื่น
(nM.)
|
แดง
|
780
- 630
|
ส้ม
|
630
- 590
|
เหลือง
|
590
- 560
|
เขียว
|
560
- 490
|
น้ำเงิน
|
490
- 440
|
คราม
|
440
- 420
|
ม่วง
|
420
- 380
|
แถบสีแต่ละแถบในช่วง
Visible Spectrum ซึ่งให้แสงสีต่างกันเราไม่สามารถแยกให้เห็นส่วนประกอบของแต่ละแถบสีได้
ไม่ว่าด้วยวิธีใดๆและเราเรียกแถบสีนี้ว่า แสงเอกพันธ์ (Homogeneous
Light) แต่เมื่อนำแสงเหล่านี้มารวมกันจะทำให้เกิด แสงสีใหม่เราเรียกแสงสีที่เกิดขึ้นใหม่นี้ว่าแสงวิวิธพันธ์
(Non-Homogeneous Light) เช่นแสงจากดวงอาทิตย์เกิดจาก การรวมกันของแสงทั้ง
7 สีในช่วง Visible Spectrum เป็นต้น
ตา
และองค์ประกอบของตา
ตาคนเราแต่ละข้างจะมีโครงสร้างดังรูปซึ่งประกอบด้วย
1. Sclera เป็นส่วนของตาขาวทั้งหมดทำหน้าที่ห่อหุ้มลูกตาเอาไว้
2. Cornea กระจกตา เป็นเยื่อบางใส
อยู่ด้านนอกของลูกตา ทำหน้าที่หักเหแสงให้ตกลงบน Retina โดยแสงจะส่องผ่านรูม่านตา
(Pupil) ซึ่งจะรับแสงมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการบีบรัดตัวของม่านตา
(Iris) ทั้งนี้แสงส่วนใหญ่จะถูกหักเหด้วย Cornea ส่วนที่เหลือจะถูกปรับละเอียดอีกครั้งด้วยเลนซ์
3. Choroid ประกอบด้วยเส้นเลือดต่างๆ
มากมายเพื่อหล่อเลี้ยงดวงตา
4. Iris ม่านตา ทำหน้าที่ปรับปริมาณแสงให้เข้าสู่
retina อย่างเหมาะสม
5. Ciliary Body หรือ Ciliary
Muscle เป็นกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่บีบบังคับเลนซ์ให้พองหรือแฟบเข้า
เพื่อรับภาพเข้าสู่จุดโฟกัส
6. Ciliary Zonules หรือ Ciliary
Fibers เป็นเอ็นยึดระหว่าง Ciliary Body กับเลนซ์ เมื่อตาได้รับภาพวัตถุ
กล้ามเนื้อของ Ciliary Body จะกระทำต่อ Zonules เป็นเหตุให้เลนซ์ขยายตัวขึ้นและรับภาพนั้นเข้าสู่จุดโฟกัสโดยทำงานสัมพันธ์กับม่านตา
และขณะที่วัตถุเคลื่อนห่างจากดวงตา กล้ามเนื้อจะคลายตัวออกทำให้เลนซ์แฟบลง
กระบวนการที่เกิดขึ้นเรียกว่า Accommodation ค่า Magnitude ของ
Accommodation จะลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้นทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจน
การลดลงของค่า Magnitude เชื่อว่าเป็นเพราะการแข็งตัวของเลนซ์ภาวะอย่างนี้เรียกว่า
Presbyopia ซึ่งจะเริ่มเป็นเมื่ออายุราว 40 ปีขึ้นไป
7. Fovea เป็นจุดเล็กๆ บนเรตินา
ซึ่งเป็นจุดที่มองเห็นชัดที่สุด
8. Optic nerves ประสาทตาซึ่งต่อเชื่อมกับเซลรับแสงบนเรตินามีจำนวนนับล้านเส้น
9. Retina เป็นส่วนของเซลรับแสง
ประกอบด้วยเซลไวแสง 2 ชนิดคือ Cones กับ Rods
Cones เซลรับแสงที่มีลักษณะเป็นแท่งทู่ๆ
รวมกันอยู่อย่างหนาแน่นบริเวณรอบๆ Fovea มีจำนวน 6-7 ล้านอันแบ่งเป็น
3 กลุ่มมีความไวต่อแสงสีต่างกันคือไวต่อแสงสีแดง, เขียวและน้ำเงิน
Cones จะมีผลต่อการมองเห็นแบบ daylight เท่านั้นซึ่งจะเริ่มทำงานเมื่อได้รับแสงประมาณ
1 fl. (foot-Lambert) ขึ้นไป การมองเห็นสีต่างๆ ขึ้นอยู่กับการทำงานของ
Cones ถ้า Cones ทั้ง 3 กลุ่มทำงานพร้อมกันเท่าๆ กันจะมองเห็นเป็นแสงสีขาวหรือไม่มีสี
ถ้า Cones ตัวใดตัวหนึ่งเสียไปจะทำให้เกิดตาบอดสี
Rods เซลรับแสงที่มีลักษณะเป็นแท่งยาวๆ
ไวแสงมาก กระจายอยู่บริเวณรอบนอก Fovea มีจำนวนประมาณ 100 ล้านอัน
rods จำนวนหลายพันตัวถูกต่ออยู่กับเส้นประสาท 1 เส้นจึงทำให้ความคมชัดของการมองเห็นต่ำมาก
จะไม่ปรากฏสีต่างๆ ในระบบของ rods จะเห็นเป็นเพียงขาว-ดำเท่านั้น
rods จะทำงานเมื่อได้รับแสงสว่างน้อยๆ คือระหว่าง -
1 fl.
การกระจายตัวของเซลรับแสงบนเรตินาแสดงดังรูป
จากการทำงานของ Cones และ Rods ก็พอจะแบ่งระดับการมองเห็นออกเป็น
3 ระดับคือ
1. Scotopic Vision เป็นช่วงที่
Rods ทำงานเพียงอย่างเดียวจะมองเห็นวัตถุต่างๆเป็นสีขาว-ดำเท่านั้น
โดยแสงที่ได้รับมีค่าระหว่าง
- fl.
2. Mesopic Vision เป็นช่วงที่
Rods และ Cones ทำงานร่วมกันทำให้มองเห็นวัตถุเป็นสีปนขาว-ดำ
แต่ไม่สามารถระบุให้แน่ชัดได้ว่าเป็นสีใด เป็นภาวะแสงสลัวที่มีความสว่างประมาณ
- 1 fl.
3. Photopic Vision เป็นช่วงที่
Cones ทำงานเพียงอย่างเดียวจะมองเห็นวัตถุต่างๆ เป็นสีถูกต้องและบอกรายละเอียดของวัตถุได้ชัดเจน
เมื่อได้รับแสงสว่างตั้งแต่ 1 fl. ขึ้นไป
การมองเห็นทั้ง 3 ระดับเมื่อทำการทดสอบกับตาคนปกติโดยการวัดจุดเริ่มตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ความยาวคลื่นต่างๆ
ในย่าน Scotopic และ Photopic พบว่าตาคนเรามีความไวต่อแสงสีที่ความยาวคลื่น
510 nM. (ในย่าน Scotopic) และ 555 nM. (ในย่าน Photopic) มากที่สุด
ซึ่งเป็นประโยชน์ในการเลือกใช้แหล่งกำเนิดแสงที่ให้แสงสีเหมาะสมกับการนำไปใช้งาน
ความชัดเจนแม่นยำของการมองเห็น (Visual
Acuity) ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลัก 4 ตัวคือ
1. ขนาดของวัตถุ (Size)
เป็นขนาดที่ตกกระทบบนเรตินาซึ่งวัดอยู่ในรูปของมุมแห่งการมอง
(Visual angle) ที่ถูกกำหนดด้วยระยะทางกับขนาดทางกายภาพของวัตถุ
และพบว่าคนเราจะมองเห็นภาพชัดเจนที่สุดที่มุมประมาณ 1.4 - 2
องศา
2. ความสว่าง (Luminance)
ขึ้นอยู่กับปริมาณแสงที่ตกกระทบพื้นผิวใดๆ แล้วสะท้อนเข้าสู่ตาเราในปริมาณที่เหมาะสม
3. ความแตกต่างของสีวัตถุกับพื้นผิวโดยรอบ
(Contrast) เป็นความแตกต่างระหว่างวัตถุกับฉากหลัง
เกิดขึ้นโดยการสะท้อนแสงจากพื้นผิววัตถุนั้นๆ เข้าตาเรา โดยพื้นผิวเหล่านั้นอาจมีสีหรือความสว่างแตกต่างกัน
ถ้าความแตกต่างยิ่งมากก็จะยิ่งมองเห็นวัตถุชัดเจนขึ้น
4. เวลา (Time) เวลาที่ใช้มองต้องมากพอที่จะระบุรายละเอียดของวัตถุนั้นๆ
ได้
หน้าแรก
|