หลอด
Fluorescent
เป็นหลอดที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันเนื่องจากให้แสงสว่างสูง
อายุการใช้งานยาวนาน แสงสีที่นุ่มนวลและความร้อน ที่ตัวหลอดน้อยกว่า
เมื่อเทียบกับหลอดมีไส้ คุณลักษณะดังกล่าวจึงเหมาะกับการนำไปใช้ให้แสงสว่างทั่วไปในอาคาร
และนอกอาคารเป็นบางแห่ง
ประเภทของหลอดฟลูออเรสเซนต์
1. Preheat
2. Rapid start
3. Instant start
นอกจากนี้ยังมีหลอดที่ให้แสงสว่างสูงพิเศษจำพวก high output
และ very high output อีกด้วย โดยหลอดชนิด preheat เป็นแบบที่นิยมใช้อย่างกว้างขวางทั่วไปสังเกตง่ายๆ
คือประกอบด้วยตัวหลอด, บัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์ ส่วนแบบ Rapid
start ไม่ต้องอาศัยสตาร์ทเตอร์เนื่องจากใช้บัลลาสต์แบบพิเศษ
ที่จ่ายไฟเลี้ยงไส้หลอดให้อุ่นตลอดเวลา ทำให้จุดติดง่ายกว่า
และหลอดก็ต่างจาก แบบ preheat ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ เหมาะกับสถานที่ที่มีอุณหภูมิต่ำ
และยังสามารถใช้ร่วมกับ เครื่องหรี่ไฟได้ด้วย ส่วนแบบ Instant
start จะใช้การจ่ายแรงดันสูงประมาณ 400-1000 V เข้าที่ตัวหลอดโดยผ่านบัลลาสต์
เพื่อกระตุ้นให้อิเล็กตรอนหลุดออกจาก cathode หลอดชนิดนี้ไม่ต้องอาศัยสตาร์ทเตอร์
เช่นกัน ลักษณะขั้วหลอดโดยทั่วไป เป็นแบบ single pin แต่อาจมีแบบ
bipin ในบางรุ่นเพื่อให้สามารถใช้ร่วมกับ ขั้วหลอดทั่วไปได้
หลอด instant start เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหลอด slimline
โครงสร้างของหลอดฟลูออเรสเซนต์
ตัวหลอดหรือกระเปาะแก้ว
เป็นหลอดแก้วใสหนาประมาณ
0.8 - 1.0 มม. ลักษณะโดยทั่วไปเป็นหลอดแก้วยาวตรง , วงกลมหรือรูปตัวยู
ดังรูป

การกำหนดขนาดของกระเปาะจะใช้ตัว T แล้วตามด้วยตัวเลขที่ระบุเส้นผ่าศูนย์กลางเป็นหุน
เช่นหลอด T12 หมายถึงหลอดที่มี เส้นผ่าศูนย์กลาง 12หุน หรือ
12/8 นิ้วเป็นต้น บริเวณขั้วหลอดด้านใดด้านหนึ่งจะแสดงรายละเอียดของหลอดเช่น
จำนวนวัตต์ ปริมาณแสงและชนิดของหลอดเป็นต้น สำหรับหลอดชนิด preheat
ที่นิยมใช้กันทั่วไปได้แก่ daylight, cool white, warm white
แต่ละแบบจะให้แสงสีที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับสารเคลือบเรืองแสงที่ฉาบไว้ภายใน
สำหรับบ้านพักอาศัยทั่วไปจะใช้แบบ daylight ที่มีสีโทนขาว-ฟ้า
ส่วนwarm white จะมีสีโทนขาว-ส้มคล้ายสีหลอด incandescent เป็นต้น
หลอดเหล่านี้ อาจใช้รหัสแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท
และอาจดูได้จาก ตัวอย่างรหัสของบริษัทฟิลิปส์
ขั้วหลอดฟลูออเรสเซนต์
แตกต่างกันไปตามชนิดของหลอด สำหรับหลอดชนิด hot cathode จะมีจุดต่อวงจรอยู่
4 จุดขั้วหลอดจึงมีด้านละ 2 เขี้ยว เรียกว่า bipin ส่วนชนิด
cold cathode จะเป็นแบบ single pin คือมีเขี้ยวยื่นออกมาข้างละเขี้ยวเท่านั้น

แต่ละแบบใช้ร่วมกับขั้วหลอดต่างกันออกไป ที่พบเห็นในท้องตลาดคือ
สารเคลือบเรืองแสง
(Phosphor)
ใช้ฉาบไว้ที่ผนังด้านในของหลอดแก้วเพื่อเปลี่ยนรังสีอัลตร้าไวโอเล็ตให้เป็นแสงที่มองเห็นได้
ซึ่งสีที่เปล่งออกมาจะขึ้นอยู่กับ คุณสมบัติทางเคมีของสารเรืองแสงนั้น
ในภาวะปกติที่หลอดยังไม่ทำงานจะยังคงมองเห็นหลอดเป็นสีขาว ต่อเมื่อหลอด
ทำงานแล้ว จึงมองเห็นแสงสีแตกต่างกัน (ยกเว้นหลอดบางแบบที่ฉาบเม็ดสีไว้ภายใน
ก็จะเห็น หลอดเป็นสีนั้นๆ ทั้งขณะที่หลอด ทำงานและไม่ทำงาน)
คุณลักษณะทางแสงสี
ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของสารเรืองแสงที่ฉาบไว้ด้านในของกระเปาะแก้ว
ทำให้ได้การกระจายพลังงานทางสเปกตรัมที่ต่างกัน ซึ่งหมายถึงแสงสีที่ได้รับต่างกันนั่นเอง
อิเลคโทรด
(Electrode)
 |
 |
มีลักษณะเป็นไส้หลอดขนาดเล็กที่ปลายหลอดทั้ง
2 ข้างทำด้วยทังสเตน เคลือบด้วยสาร Alkaline earth oxide
เพื่อช่วยให้ cathode ปล่อยอิเลคตรอน ออกมาได้เป็นจำนวนมากอาจใช้แบเรียม,
สตรอนเทียม, แคลเซียมออกไซด์ ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับขนาด,
รูปร่างอิเลคโทรด ของหลอดอาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ ชนิดของหลอด
บางชนิดอาจมีวงแหวนโลหะ ครอบไว้เพื่อป้องกันขั้วหลอดดำ |
บัลลาสต์
(Ballast)
ทำหน้าที่สำคัญ 2 ประการคือสร้างแรงดันให้สูงพอสำหรับการจุดหลอดให้ติดสว่างและควบคุมกระแสที่ไหลผ่านวงจรขณะ
start และทำงานให้มีค่าเหมาะสม มีทั้งบัลลาสต์แกนเหล็กและบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์
สตาร์ทเตอร์
(Starter)
 |
ใช้ในวงจรของหลอดฟลูออเรสเซนต์แบบ
Preheat โดยทำหน้าที่ช่วยจุดหลอดให้ติดสว่างในตอนแรก ที่มีขายทั่วไปสามารถใช้ร่วมกับหลอดได้หลายขนาด
เช่นยี่ห้อฟิลิปส์รุ่น S10 ใช้กับหลอดขนาดตั้งแต่ 4 - 65
วัตต์ หากใช้สตาร์ทเตอร์ที่มีขนาดวัตต์ไม่เหมาะสมกับ ขนาดวัตต์ของหลอดจะมีผลต่อการจุดหลอดอาจติดยาก
หรือไม่สามารถจุดติดได้ |
อายุของหลอด
สำหรับหลอดแบบ Preheat จะมีอายุประมาณ 8,000 - 10,000 ชั่วโมง
โดยทำการทดสอบในห้องปฏิบัติการคือ เปิดหลอดให้ติดสว่าง 2 ชั่วโมง
50 นาที แล้วปิด 10 นาที สลับกันไปจนกระทั่งหลอดดับไปครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ทดสอบ
ก็จะเป็นอายุโดยเฉลี่ยของหลอดฟลูออเรสเซนต์ แต่การนำมาใช้งานจริงอาจแตกต่างไปจากค่าที่ระบุ
เนื่องจากขึ้นอยู่กับ สภาพแวดล้อมขณะใช้งานเช่น แรงดัน, อุณหภูมิ,
ความถี่ในการเปิด-ปิดหลอดเป็นต้น
ข้อแนะนำในการใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์
1. หลอดแบบ Preheat ไม่เหมาะสำหรับใช้กับห้องที่มีเพดานสูงเกินกว่า
5 - 7 เมตร เพราะต้องใช้หลอดจำนวนมาก การที่อายุหลอดไม่มากนัก
ทำให้ต้องเปลี่ยนหลอดบ่อย เปลืองค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา
2. ถ้าจำเป็นต้องใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ในพื้นที่ที่มีความสูงเกินกว่า
7 เมตร ให้ใช้หลอดแบบ Rapid start จะเหมาะกว่า เพราะมีอายุการใช้งานนานถึง
20,000 ชั่วโมงและไม่มีปัญหาเรื่อง starter
3. ควรเลือกสีของหลอดฟลูออเรสเซนต์ให้เหมาะสมกับงานเช่น
daylight , warm white , cool white เป็นต้น
4. งานที่ต้องการความส่องสว่างสูงกว่า
500 ลักซ์ควรใช้หลอด daylight
5. งานที่ต้องการความส่องสว่าง
300 - 500 ลักซ์ควรใช้หลอด
cool white
6. งานที่ต้องการความส่องสว่างต่ำกว่า
300 ลักซ์ควรใช้หลอด warm
white
7. การเลือกใช้สีของหลอดอาจพิจารณาพื้นที่ใช้สอยประกอบกัน
โดยพื้นที่ที่อยู่ติดกันควรใช้หลอดที่มีโทนสีใกล้เคียงกัน
8. หลอดฟลูออเรสเซนต์เป็นหลอดที่มีฮาร์มอนิก
ซึ่งมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการเลือกใช้บัลลาสต์
ข้อมูลเพิ่มเติมของหลอดฟลูออเรสเซนต์
catalog ของ Philips cfl_fluor.pdf
(
461KB )
หน้าแรก
|