หลอดเมทัลฮาไลด์ (Metal Halide Lamp)

       หลอดเมทัลฮาไลด์

      โดยทั่วไปคล้ายกับหลอดไอปรอท ซึ่ง arc tube ทำด้วย fuse silica แต่มีขนาดเล็กกว่า arc tube ของหลอดไอปรอท ภายในบรรจุ electrode ที่ทำด้วยทังสเตนล้วนๆ ไม่นิยมเคลือบด้วย สารเร่ง electron เนื่องจากสารนี้จะถูกทำลาย เมื่อรวมกับฮาโลเจน ภายในกระเปาะเองมีการเติมสารตระกูล halide ลงไปได้แก่ thalium, sodium, scandium iodide นอกเหนือไปจาก argon, neon, krypton, sodium และหยดปรอท สารฮาไลด์ที่เติมเข้าไปทำให้ ได้รับปริมาณแสงเพิ่มขึ้น เกือบเท่าตัวเมื่อเทียบกับหลอดไอปรอท และมีแสงสีสมดุลขึ้น จนดูใกล้เคียงแสงแดด ดังนั้นกระเปาะแก้วจึงไม่ จำเป็นต้องเคลือบสารฟอสเฟอร์ แต่อาจเคลือบเพื่อให้แสงสีนุ่มนวลขึ้น เท่านั้น นิยมใช้ในสนามกีฬาโดยเฉพาะที่มีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์, สวนสาธารณะ, ไฟสาดอาคารเป็นต้น การติดตั้งหลอดต้องเป็นไปตามที่ ผู้ผลิตกำหนดในเรื่องมุมของการจุดไส้หลอด เพื่อให้ได้ปริมาณแสงและ อายุการใช้งานรวมทั้งแสงสีที่ถูกต้อง

      โครงสร้างของหลอด
       
                               
                            บัลลาสต์                                                                               ignitor

      วงจรการทำงาน
           
                        วงจรที่ไม่ต้องใช้ ignitor                                             วงจรที่ต้องใช้ ignitor

      หลักการทำงาน

          หลอดเมทัลฮาไลด์มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับหลอดไอปรอทเพียงแต่ต้องอาศัย ignitor ช่วยจุดหลอด โดยไปกระตุ้นให้ สาร iodide กลายเป็นไอซึ่งมีคุณสมบัติเปล่งแสงออกมาได้หลายช่วงความยาวคลื่น สายตาเราจึงสามารถมองเห็นวัตถุได้ชัดเจน โดยไม่จำเป็นต้องใช้สารฟอสเฟอร์เข้าช่วย ระยะเวลาที่ใช้ในการจุดหลอดราว 3 นาที และต้องใช้เวลานานถึง 4 - 6 นาที เพื่อให้ได้แสงสว่างเต็มที่ และใช้เวลา restart ราว 10 - 15 นาที

      การกระจายพลังงานทางสเปกตรัม

      หลอดชนิดนี้ให้แสงออกมา กระจายครอบคลุมความยาวคลื่นที่ตาเราสามารถมองเห็นได้ จึงได้แสงที่ใสกว่าหลอดแบบอื่น แต่สีอาจต่างกันบ้างทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของหลอดและสาร iodide ที่ใช้ดังรูป


      การกระจายพลังงานทางสเปกตรัมของหลอดที่ใช้ Dysprosium & Thalium iodide

      การกระจายพลังงานทางสเปกตรัมของหลอดที่ใช้ Sodium & Scandium iodide

      อายุการใช้งาน

      ประมาณ 6,000 - 15,000 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตต์ของหลอด โดยคิดที่การเปิดใช้งาน 10 ชั่วโมง/ครั้ง

      การใช้งาน

           
                    ใช้ส่องสว่างในอาคารเพดานสูง 
           

                          ใช้ส่องสว่างในสนามกีฬา                           ใช้เป็นไฟสาดอาคารเพื่อเน้นความสวยงาม

      คำแนะนำ

           1. นิยมใช้แทนหลอดฟลูออเรสเซนต์กรณีที่ใช้กับเพดานสูง
           2. เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป, แสงสว่างในสนามกีฬา, บริเวณที่ต้องการความถูกต้องของสีเป็นต้น
           3. ไม่เหมาะกับพื้นที่ที่ต้องการแสงสว่างที่จุดติดแบบทันทีทันใด

      ข้อมูลเพิ่มเติมของหลอดเมทัลฮาไลด์

      catalog ของ Philips hid.pdf ( 421KB )

       หน้าแรก