สวิตซ์บอร์ด เป็นแผงจ่ายไฟฟ้าขนาดใหญ่
นิยมใช้ในอาคารขนาดกลาง-ใหญ่ ไปจนถึงโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก
โดยรับไฟจากการไฟฟ้าหรือด้านแรงต่ำของหม้อแปลงจำหน่าย แล้วจ่ายโหลดไปยังแผงย่อยตามส่วนต่างๆ
ของอาคาร สวิตซ์บอร์ดอาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Main Distribution
Board (MDB)
ตู้ MDB ส่วนมากมีขนาดใหญ่จึงมักวางบนพื้น มีหลายแบบให้เลือกใช้ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิต
ทั้งนี้ควรพิจารณาจากระดับแรงดัน, พิกัดกระแส และพิกัดกระแสลัดวงจรด้วย
ส่วนประกอบหลักของสวิตซ์บอร์ด
1.
โครงตู้ (Enclosure)
2. บัสบาร์
3. เซอร์กิตเบรคเกอร์
4. เครื่องวัดไฟฟ้า
5. อุปกรณ์ประกอบ (Accessories)
โครงตู้
|
ทำมาจากแผ่นโลหะประกอบเป็นโครงตู้
ซึ่งอาจเปิดได้เฉพาะด้านหน้า หรือเปิดได้ทุกด้าน ขึ้นอยู่กับการออกแบบ
โดยมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ
1. คุณสมบัติทางกล คือรับแรงทางกลจากภายนอกได้เพียงพอต่อการใช้งานทั้งภาวะปกติและไม่ปกติได้
2. คุณสมบัติทางความร้อน คือทนความร้อนจากสภาพแวดล้อม, ความผิดปกติในระบบ
และอาร์กจากการลัดวงจรได้
3. คุณสมบัติต่อการกัดกร่อน คือสามารถทนการกัดกร่อนจากความชื้นและสารเคมีได้
นอกจากนี้โครงตู้ยังทำหน้าที่ป้องกันอันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้คือ
ก. ป้องกันไม่ให้ผู้อยู่ใกล้สวิตซ์บอร์ดสัมผัสถูกส่วนที่มีไฟ
ข. ป้องกันอุปกรณ์ภายในตู้จากสิ่งต่างๆ ภายนอกเช่น น้ำ ,
วัตถุแข็ง , สัตว์เลื้อยคลาน เป็นต้น
ค. ป้องกันอันตรายจากการอาร์กที่รุนแรงจนชิ้นส่วนอุปกรณ์อาจหลุดกระเด็นออกมา |
บัสบาร์
มีทั้งชนิดที่ตัวนำทำด้วยทองแดงและอลูมิเนียม รูปร่างของบัสบาร์ที่นิยมใช้กันทั่วไปเป็นแบบ
Flat คือมีพื้นที่หน้าตัด เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เนื่องจากติดตั้งง่าย,
ระบายความร้อนดี แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. บัสบาร์แบบเปลือย
2. บัสบาร์แบบทาสี
ข้อแนะนำในการใช้บัสบาร์
1. บัสบาร์ควรวางในแนวดิ่งจึงจะระบายความร้อนได้ดี
2. บัสบาร์แบบ Flat ควรขนานกันไม่เกิน 4 แท่ง ถ้ามากกว่านี้จะมีปัญหาเรื่อง
skin effect
3. บัสบาร์แบบทาสี สีที่ใช้ทาเคลือบบัสบาร์ควรมีสัมประสิทธิ์การระบายความร้อนสูงประมาณ
0.9
4. บัสบาร์แบบทาสี นำกระแสได้สูงกว่าบัสบาร์แบบเปลือย
5. กำหนดให้ใช้สี แดง เหลือง น้ำเงิน สำหรับเฟส R , Y , B ตามลำดับ
6. การเรียงเฟสในสวิตซ์บอร์ด (R,Y,B) ให้เรียงจากด้านหน้าไปยังด้านหลังตู้
, จากบนลงล่าง หรือจากซ้ายไปขวา
7. การเรียงเฟสลักษณะอื่น อนุญาตเฉพาะการเชื่อมต่อกับระบบที่มีอยู่แล้วแต่ต้องทำเครื่องหมายให้เห็นชัดเจน
เซอร์กิตเบรคเกอร์
สำหรับสวิตซ์บอร์ดแรงต่ำ เบรคเกอร์ที่ใช้ทั่วไปมี 2 แบบคือ Air
circuit breaker และ Molded
case circuit breaker โดย Air CB. ใช้เป็นเมนเบรคเกอร์ในวงจรที่ใช้กระแสสูง
ส่วน molded case CB. (MCCB) ใช้กับวงจรย่อย หรือใช้เป็นเมนเบรคเกอร์ในตู้สวิตซ์บอร์ดขนาดเล็ก
ทั้งนี้การเลือกเบรคเกอร์ควรพิจารณาขนาดความกว้าง, ยาว, สูง
เพื่อให้ติดตั้งในตู้ได้อย่างเหมาะสมสวยงาม, ค่ากระแส IC ,รวมถึงการจัด
Co-ordination ด้วย
เครื่องวัดไฟฟ้า
เครื่องวัดพื้นฐานที่ใช้ในตู้สวิตซ์บอร์ดทั่วไปคือโวลต์มิเตอร์และแอมมิเตอร์
ซึ่งต่อใช้งานร่วมกับ selector switch เพื่อวัดแรงดันหรือกระแสในแต่ละเฟส
พิกัดแรงดันของโวลต์มิเตอร์คือ 0-500 V. ส่วนพิกัดกระแสของแอมมิเตอร์จะขึ้นอยู่กับ
อัตราส่วนของ current transformer เช่น 100/5 A เป็นต้น
สำหรับตู้สวิตซ์บอร์ดขนาดใหญ่อาจมี P.F meter , watt meter หรือ
Var meter เพิ่มเติมขึ้นอยู่กับการออกแบบตู้
บางตู้ก็อาจติดตั้ง PF. controller เพื่อควบคุมค่า power factor
ในวงจรด้วย
อุปกรณ์ประกอบ
อุปกรณ์ประกอบในตู้สวิตซ์บอร์ดมีหลายตัวได้แก่
1. current transformer (CT)
|
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการวัดกระแสไฟฟ้าโดยต่อร่วมกับแอมมิเตอร์
CT ที่มีใช้ในท้องตลาดจะมี 2 กลุ่มคือ อัตราส่วนต่อ 1 และอัตราส่วนต่อ
5 ที่ใช้ในตู้สวิตซ์บอร์ดนิยมใช้อัตราส่วนต่อ 5 เช่น 50/5,
100/5 , 300/5A เป็นต้น ปกติจะเลือก CT ตามขนาดของเมนเบรคเกอร์
โดยเลือกไม่ต่ำกว่าพิกัดของเมนเบรคเกอร์ เช่นเมนเบรคเกอร์มีขนาด
100A ก็จะเลือก CT ขนาด 100/5A
ข้อควรระวังในการใช้ CT คือ ห้ามเปิดวงจรด้าน secondary
ของ CT เนื่องจากจะเกิดแรงดันสูงตกคร่อมขดลวด และทำให้ CT
ไหม้ได้ หากไม่ใช้งานต้องลัดวงจรขั้วทั้งสอง ของ CT เสมอ |
2.
selector switch
|
โดย
Ammeter selector switch จะใช้ร่วมกับ CT และ Panel ammeter
เพื่อวัดกระแสในตู้สวิตซ์บอร์ด
ส่วน Voltmeter selector switch จะใช้ร่วมกับ Panel voltmeter
เพื่อวัดแรงดันภายในตู้ การต่อวงจรให้ดูจากไดอะแกรมที่มาพร้อมกับอุปกรณ์
เพราะแต่ละยี่ห้อก็อาจมีวิธีการต่อที่แตกต่างกัน |
3.
Pilot lamp
|
เป็นหลอดที่แสดงสถานะการทำงาน
เพื่อบอกให้รู้ว่ามีไฟจ่ายเข้ามายังตู้สวิตซ์บอร์ดหรือไม่
Pilot lamp มี 2 แบบคือ
- แบบมีหม้อแปลงแรงดัน
- แบบไม่มีหม้อแปลงแรงดัน
แบบมีหม้อแปลงแรงดันจะลดแรงดันให้ต่ำลงเพื่อให้เหมาะสมกับแรงดันหลอด
เช่น 220/6.3V เป็นต้น
|
4.
ฟิวส์
|
เป็นฟิวส์หลอดแก้ว
ใช้ป้องกันวงจรเครื่องวัดไฟฟ้าและหลอด pilot lamp |
5.
ฉนวนรองบัสบาร์
|
เป็นฉนวนรองรับบัสบาร์โดยด้านหนึ่งยึดติดกับโครงตู้สวิตซ์บอร์ด
อีกด้านหนึ่งยึดบัสบาร์ไว้ มีหลายชนิดให้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับบัสบาร์แต่ละแบบ |
กลับไปหน้าแรกโฮมเพจออกแบบระบบไฟฟ้า
|