งานปรับปรุงบ้านมนังคศิลาเป็นสำนักงานแปลงสินทรัพย์เป็นทุน

Project Summary

 

Project                             :   งานปรับปรุงบ้านมนังคศิลา

Location                           :   ถนนหลานหลวง กรุงเทพฯ

Responsible Organization   :   กลุ่มงานอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร

Constructor                      :    หจก.โชคชัยถาวร

Restoration Duration         :    6 เดือน

Budget                             :   

Conservation team            :   นส.มนัชญา  วาจก์วิศุทธิ์  สถาปนิก

                                           นายสุดชาย พานสุวรรณ   วิศวกรโยธา

                                           นายสุรชัย จันทร์เงิน        นายช่างโยธา ผู้ควบคุมงาน

   

ขอบเขตงาน 

1.     งานตรวจสอบความเสียหายอาคารโดยละเอียด

เนื่องจากการตรวจสอบในขั้นต้นนี้ เป็นการตรวจสอบสภาพกายภาพ ที่สามารถมองเห็นจาก

ภายนอกเท่านั้น ส่วนการตรวจสอบโครงสร้าง คุณสมบัติทางวิศวกรรมของวัสดุ และผลกระทบของน้ำใต้ดิน ภายในห้องใต้ดินอาคารนั้นไม่สามารถตรวจสอบได้ในขั้นตอนนี้ จึงจะต้องมีการสำรวจเพิ่มเติมในขณะปฏิบัติงานบูรณะ ซึ่งได้แก่

1.1 งานตรวจสอบคุณสมบัติดิน

1.2 งานทดสอบคุณสมบัติทางวิศวกรรมของวัสดุก่อสร้าง

1.3 งานตรวจสอบหาผลกระทบของน้ำภายในห้องใต้ดินต่ออาคาร

1.4 งานตรวจสอบทางกายภาพอื่น ๆ เช่นโครงสร้างพื้น ผนัง ฐานราก

 

2.     งานบูรณะอาคาร แยกเป็นหมวดหมู่ดังนี้

2.1 งานซ่อมหลังคา

·        โครงสร้างหลังคา

            -    เสริมโครงสร้างใหม่ เพื่อรองรับกับการแอ่นตัวของโครงสร้างเดิม

·        การซ่อมแซมหลังคา

-         ซ่อมหรือเปลี่ยนไม้โครงสร้างหลังคาเดิมที่ชำรุด                    

-         วัสดุมุงหลังคา รื้อ ทำความสะอาด และเปลี่ยนวัสดุมุงที่ชำรุด , แตก เป็นวัสดุใหม่ ที่มีขนาดและรูปแบบเหมือนของเดิม

-         ปูแผ่นยางสังเคราะห์

-         เปลี่ยนรางระบายน้ำฝนและท่อแนวดิ่งจากสังกะสี เป็นสแตนเลสสตีล

2.2 งานฝ้าชายคาและฝ้าเพดาน

·        การซ่อมฝ้าชายคาและฝ้าเพดาน

-         ซ่อม / เปลี่ยน วัสดุฝ้าเพดานที่ชำรุด แตกร้าว ทำสีใหม่

2.3 งานซ่อมผนัง

·        การซ่อมผนัง

-         ผนังปูน ซ่อมเฉพาะส่วนที่ชำรุด เสียหาย อุดรอยแตกร้าวเล็ก ๆ น้อย ๆ รวมทั้งอุดช่องที่เจาะเดินท่องานระบบ ทำสีใหม่ แผ่นไม้ที่แปะอยู่บริเวณผิวภายนอกอาคาร ซ่อมส่วนที่ชำรุดโดยการตัดต่อเฉพาะส่วน หรือเปลี่ยนทั้งชิ้นแล้วแต่กรณี

-         ผนังภายในที่กรุไม้สัก ซ่อมเปลี่ยนทั้งชิ้น

-         ปรับปรุงผนังห้องใต้ดิน และผนังรอบอาคารส่วนที่อยู่ใต้ดิน

2.4 ส่วนตกแต่งอาคาร

สกัดส่วนปูนที่ชำรุดออก แล้วปั้นเสริมขึ้นใหม่ ตามรูปแบบเดิม ทำสีใหม่

2.5 งานพื้น

·        การซ่อมพื้น

-         รื้อถอนพื้นปาเก้ร์เดิมบริเวณชั้นล่าง เปลี่ยนโครงสร้างรับพื้นใหม่ทั้งหมด แทนโครงสร้างเดิมที่ชุ่มน้ำมาก และเพื่อให้สามารถรับน้ำหนักการใช้สอยที่เปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์ได้ จากนั้นซ่อม/  เปลี่ยน ปาเกร์ที่ชำรุด

-         พื้นชั้นบน ซ่อม / เปลี่ยนพื้นและโครงสร้างรับพื้นส่วนที่ชำรุด

-         ปรับปรุงพื้นระเบียง ปรับแต่งความลาดเอียง ฝังท่อระบายน้ำทางดิ่ง เสริมวัสดุกันซึมบริเวณรอยต่อ

2.6 งานซ่อมบันไดภายนอกและภายใน

2.7 งานประตูหน้าต่าง

-         ซ่อม / เปลี่ยน ส่วนที่ชำรุด รื้อพัดลมระบายอากาศที่ติดตั้งบริเวณช่องแสงออก ติดตั้งช่องแสงกระจกใสแทนตามแบบของเดิม

-         ซ่อม / เปลี่ยน อุปกรณ์ประกอบ ลูกบิด กุญแจ กลอน บานพับ มือจับ ฯลฯ

 2.8 งานระบบไฟฟ้าและดวงโคม

·        การบูรณะ จะกลับไปใช้ระบบแบบโบราณ เดินสายซ่อนเหนือฝ้าเพดาน และฝังร้อยสายซ่อนในผนัง อุปกรณ์ไฟฟ้าจะซ่อมของเดิมที่ชำรุดและเพิ่มเติมใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้สอย โดยรูปแบบดวงโคมสอดคล้องกับของเดิม รวมทั้งจัดทำระบบสื่อสาร สายโทรศัพท์ใหม่ด้วย

2.9 งานระบบปรับอากาศ

 ·        วางระบบปรับอากาศใหม่ โดยเดินท่อใต้พื้น และวางตำแหน่งที่เหมาะสมของการตั้งเครื่องปรับอากาศ และเครื่อง compresso

 2.10 งานระบบสุขาภิบาล

·        วางระบบสุขาภิบาลใหม่ ใช้ระบบที่มีช่องท่อ (duct) โดยไม่ฝังท่อในผนัง สำหรับห้องน้ำชั้นบน ปรับปรุงสุขภัณฑ์เดิมและอุปกรณ์ประกอบ ส่วนห้องน้ำชั้นล่างปรับปรุงเป็นห้องน้ำสำหรับผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์

   2.11 จัดทำระบบระบายน้ำรอบอาคาร

   2.12 จัดทำระบบป้องกันอัคคีภัย

-         ติดตั้งเครื่องตรวจจับควันหรือความร้อน (Smoke detector or heat detector)  บริเวณฝ้าเพดาน

-         ติดตั้งอุปกรณ์ตู้ดับเพลิง ในตำแหน่งที่เหมาะสม

   2.13   ปรับปรุงระบบป้องกันฟ้าผ่า

3.     งานงานตกแต่งภายใน

      4.    งานภูมิทัศน์อาคาร

 ภาพการ Renovate (คลิกที่ภาพเพื่อดูขยาย)
 ภาพเมื่อ Renovate แล้ว (คลิกที่ภาพเพื่อดูขยาย)