การสำรวจตัวอาคาร |
![]()
การล้มตัวออกนอกของผนังหรือกำแพงเนื่องจากดินใต้ฐานรากด้านนอกมีโอกาสได้รับความชื้นมากกว่าดินด้านใน จึงมักจะทรุดตัวหรือเลื่อนไหลออกด้านนอก เป็นเหตุให้ผนังหรือกำแพงเอียงล้มตัวออกด้านนอก
|
![]()
อาคารอนุรักษ์หรือโบราณสถานในประเทศไทยที่เป็นระบบกำแพงรับน้ำหนัก เช่นโบสถ์ วิหาร มักจะไม่ได้ก่ออิฐประสานกันบริเวณมุมอาคาร แต่ใช้การก่อชนกัน จึงไม่สามารถรับแรงเฉือนที่เกิดจากนำหนักหลังคาก่อทับได้ |
![]()
รอยแตกใต้ท้องคานเนื่องจากไม้รับกำแพงก่ออิฐที่ติดตั้งเหนือหน้าต่าง รับแรงที่เกิดจากน้ำหนักกำแพงกดทับไม่ได้ จึงอ่อนตัวลง ตกท้องช้าง |
![]()
บริเวณมุมประตูหน้าต่างเป็นจุดที่อ่อนแอที่สุด เมื่ออิฐและปูนฉาบล้าก็มักจะเกิดรอยแยกตรงบริเวณนี้ตามแนวเฉียงเสมอ |
![]()
รอยแยกใต้คานโค้งหรือผนังก่อโค้งที่เกิดจากการทรุดตัวของฐานราก หรือกำแพง หรือเสา เพราะตามทฤษฎีแล้ว โครงสร้าง Arch แบบครึ่งวงกลม ที่เป็น Roman Arch แท้จะไม่มีแรงถีบ แต่โครงสร้างวงโค้งส่วนใหญ่ในประเทศไทยไม่ได้เป็น Roman Arch แท้ แต่ใช้การก่อเหลื่อมกันให้มีลักษณะโค้งคล้ายกับ Roman Arch |
![]()
รอยแยกที่เกิดจากการที่ฐานรากด้านนอกทรุดตัวหรือทรุดตัวมากกว่าด้านใน ทำให้ฐานรากเกิดการหมุนออก เพิ่มแรงถีบออกที่ฐานของวงโค้ง |
![]()
รอยแยกที่เกิดจากการที่ฐานรากด้านในทรุดตัว หรือทรุดตัวมากกว่าด้านนอก ทำให้ฐานรากหมุนเข้า เพิ่มแรงกด(เข้า)ที่ฐานของวงโค้ง เกิดเป็นแรงเฉือนทำให้วัสดุเคลื่อนแยกตัวออกจากกัน |