เทคนิคการซ่อมแซมอาคารอนุรักษ์และโบราณสถาน (ฐานราก) | ||
ฐานรากคือ ส่วนของอาคารที่อยู่ใต้ดิน ใช้รองรับน้ำหนักอาคารกระจายลงสู่ดินหรือเสาเข็ม มีหน้าที่ 1. รับน้ำหนักอาคาร 2. ถ่ายน้ำหนักลงดิน 3. ป้องกันการทรุดตัวหรือเคลื่อนตัวอาคาร |
||
![]() ![]() ![]() |
||
แบบฐานแผ่บนเศษปูน อิฐหักและหินย่อย / แบบฐานแผ่และเสาเข็ม / แบบใช้ตอม่อและเสาเข็ม | ||
ลักษณะฐานรากของโบราณสถานไทย | ||
![]() |
![]() |
![]() |
ฐานรากแผ่ วางบนหินย่อย อิฐหัก เศษปูนบดอัดแน่น |
ฐานรากแผ่ วางบนท่อนซุงเรียงบนหิน อิฐบดอัดแน่น |
ฐานรากแผ่ วางบนโอ่งหรือไห |
(แนวคิดคือ น้ำหนักอาคาร+ฐานรากเท่ากับหรือน้อยกว่าน้ำหนักดินที่ขุดออกไป) |
||
![]() |
|
![]() |
ฐานรากทุ่นคสล. (ใช้ในกรณีดินรับน้ำหนักได้น้อยและมีพื้นที่สำหรับทำฐานแผ่ไม่เพียงพอ แนวคิดคือ น้ำหนักอาคาร+ฐานรากเท่ากับหรือน้อยกว่าน้ำหนักดินที่ขุดออกไป) |
ฐานคลองรากวางบนเข็ม |
ฐานรากเดี่ยว (ทำด้วยไม้สำหรับอาคารขนาดเล็ก และทำด้วยคสล.หรือก่ออิฐบนเสาเข็ม) |
ขั้นตอนการก่อสร้างฐานราก | ||
![]() |
|
![]() |
1. ขุดหลุมฐานราก ถมด้วยหินย่อย อิฐหัก เศษปูนหรือทรายแม่น้ำบดอัดแน่น |
2.เรียงท่อนซุงหรือโอ่ง |
3.ก่อแนวฐานอาคาร |
หากเป็นอาคารขนาดเล็กจะมีใช้การเรียงท่อนซุง จะก่อแนวฐานอาคารบนหินย่อย อิฐหักบดอัดแน่นเลย | ||