การต่อลงดิน การต่อลงดิน
หมายถึงการต่อส่วนของระบบไฟฟ้า หรือส่วนที่เป็นโลหะเข้ากับดิน
เพื่อให้ส่วนที่ต่อนั้นมีศักย์ไฟฟ้าเท่ากับดิน
ประโยชน์ของการต่อลงดิน
1. ป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับบุคคลที่ไปสัมผัสกับส่วนที่เป็นโลหะ
ของอุปกรณ์ไฟฟ้าโดยบังเอิญ ถ้าหากส่วนนั้นมีแรงดันไฟฟ้า เนื่องจากมีกระแสรั่วไหล
หรือการเหนี่ยวนำทางไฟฟ้า
2. ป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับอุปกรณ์
หรือระบบไฟฟ้าเมื่อมีกระแสลัดวงจรลงดิน
ประเภทของการต่อลงดิน
1. การต่อลงดินของระบบไฟฟ้า
(System grounding)
2. การต่อลงดินของอุปกรณ์
(Equipment grounding)
ส่วนประกอบของดิน
หลักดิน
(Grounding Electrode)
ความจำเป็นของการตรวจหาสภาพดิน
สิ่งที่มักพบเสมอของสภาพดินคือ
บริเวณเดียวกันอาจมีสภาพดินแตกต่างกันมาก จึงต้องตรวจวัดหลายๆ
จุด เพื่อให้ได้ข้อมูล ที่ถูกต้องโดยใช้เครื่องวัดความต้านทานดิน
ซึ่งมีรายละเอียดวิธีการวัดแตกต่างกันไปตามที่ผู้ผลิตกำหนด โดยกระทำที่ความลึก
ไม่เกิน 3 เมตร สำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่ควรตรวจวัดสภาพดินอย่างน้อย
10 จุด
การลดค่าความต้านทานของการต่อลงดิน
กรณีที่พบว่าค่าความต้านทานของการต่อลงดินสูงกว่าที่กำหนด
จำเป็นต้องหาวิธีลดความต้านทานลง อาจใช้วิธีการเพิ่ม ความนำจำเพาะของดินหรือเพิ่มพื้นที่สัมผัสดินของหลักดิน
ซึ่งแต่ละวิธีจะมีข้อจำกัดในการใช้งานจึงต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม
ในประเทศไทยอุณหภูมิส่วนใหญ่สูงกว่าศูนย์องศา การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิมีผลกระทบไม่มากนัก
อาจตัดทิ้งไปได้ ยกเว้นบางสถานที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติเช่น
ยอดเขาสูง การลดความต้านทานดินทำได้หลายวิธีดังนี้
1. โดยการปรับปรุงสภาพดิน
2. โดยการปรับปรุงหลักดิน
ด้วยการเพิ่มพื้นที่สัมผัสดิน เช่น เปลี่ยนรูปร่าง ขนาด และเพิ่มจำนวนหลักดิน
3. โดยการเพิ่มความยาวหลักดิน
4. โดยการเพิ่มขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางหลักดิน
5.โดยการเพิ่มจำนวนหลักดิน
ที่มา
คู่มือการออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้า |
ผศ.
ประสิทธิ์ พิทยพัฒน์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
วารสารโอมห์
แมกกาซีน ฉบับที่ 4, 2001 |
ลือชัย
ทองนิล ผู้อำนวยการกองออกแบบฯ การไฟฟ้านครหลวง |
กลับไปหน้าแรกโฮมเพจออกแบบระบบไฟฟ้า
|