หม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer) | การบาลานซ์โหลดหม้อแปลง
| การป้องกันหม้อแปลง
| มาตรฐานการติดตั้งหม้อแปลง
| ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับหม้อแปลง
|
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เปลี่ยนระดับแรงดันให้สูงขึ้นหรือต่ำลงตามต้องการ
ภายในประกอบด้วยขดลวด 2 ชุดคือ ขดลวดปฐมภูมิ (Primary winding)
และ ขดลวดทุติยภูมิ (Secondary winding) แต่สำหรับหม้อแปลงกำลัง
(Power Transformer) ขนาดใหญ่บางตัวอาจมีขดลวดที่สามเพิ่มขึ้นคือขด
Tertiary winding ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าขด Primary และ Secondary
และแรงดันที่แปลงออกมาจะมีค่าต่ำกว่าขด Secondary
![](../transformer/1000kva.jpg) ![](../transformer/20000kva.jpg)
ชนิดของหม้อแปลง
1. หม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง (Power Transformer)
2. หม้อแปลงจำหน่าย (Distribution Transformer)
3. หม้อแปลงสำหรับเครื่องมือวัด (Instrument Transformer)
4. หม้อแปลงสำหรับความถี่สูง (High frequency Transformer)
สำหรับหม้อแปลงจำหน่ายที่ใช้งานทั่วไปของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็น
2 ระบบคือ
1. ระบบ 1 เฟส 3 สาย มีใช้งาน
4 ขนาดคือ 10 KVA , 20 KVA , 30 KVA , 50 KVA
2. ระบบ 3 เฟส 4 สาย มีหลายขนาดได้แก่
30, 50, 100, 160, 250, 315, 400, 500, 1000, 1250, 1500, 2500
KVA.
หม้อแปลงที่ติดตั้งเพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าทั่วไปของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกำหนดให้ใช้ได้ตั้งแต่ขนาด
10 KVA. 1 เฟส จนถึง 250 KVA. 3 เฟส (ยกเว้น 30 KVA. 3 เฟส)
นอกเหนือจากนี้เป็นหม้อแปลงที่ติดตั้งให้ผู้ใช้ไฟเฉพาะราย
อุปกรณ์ประกอบหม้อแปลง
1.ฟิวส์ (Fuse) ทำหน้าที่ป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือระบบ
จากภาวะกระแสเกินพิกัด (over current) หรือลัดวงจร (short circuit)
มีทั้งฟิวส์แรงสูงติดตั้งทางด้าน Primary และฟิวส์แรงต่ำติดตั้งทางด้าน
Secondary
|
|
ฟิวส์แรงสูง
(Dropout Fuse)
|
ฟิวส์แรงต่ำ
|
2.
ล่อฟ้า (Lightning Arrester) ทำหน้าที่ป้องกันอุปกรณ์หรือระบบและสายส่งมิให้ได้รับความเสียหายจากภาวะแรงดันเกิน
(over voltage) ที่เกิดจากฟ้าผ่าหรือการปลดสับสวิตซ์
|
|
ล่อฟ้าแรงสูง
(HV. Arrester)
|
ล่อฟ้าแรงต่ำ
(LV. Arrester)
|
3.
อาร์คซิ่งฮอร์น (Arcing Horn) เป็นอุปกรณ์ป้องกันหม้อแปลงมิให้ชำรุดเสียหายจากภาวะแรงดันเกินที่เกิดจากฟ้าผ่า
สำหรับระยะ air gap ของ arcing horn ที่บุชชิ่งแรงสูงของหม้อแปลงตามมาตรฐานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกำหนดดังนี้
3.1 ระบบ 11 KV. ระยะห่าง 8.6
เซนติเมตร
3.2 ระบบ 22 KV. ระยะห่าง 15.5
เซนติเมตร
3.3 ระบบ 33 KV. ระยะห่าง 22.0
เซนติเมตร
4. น้ำมันหม้อแปลง มีหน้าที่
2 ประการคือ
4.1 เป็นฉนวนไฟฟ้า
โดยป้องกันกระแสไฟฟ้ากระโดดจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง ถ้าเทียบกับอากาศแล้ว
น้ำมันหม้อแปลงจะทนแรงดันได้สูงกว่าหลายเท่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของน้ำมันหม้อแปลงนั้น
ดังนั้นถ้าเราจุ่มตัวนำลงในน้ำมัน ก็จะสามารถวางไว้ใกล้กันได้โดยไม่ลัดวงจร
4.2 ระบายความร้อน
โดยที่น้ำมันเป็นของเหลวจึงสามารถเคลื่อนตัวมาถ่ายเทความร้อนให้แก่อากาศรอบๆ
หม้อแปลงได้ดี, ทำให้ขดลวดและแกนเหล็กของหม้อแปลงระบายความร้อนได้
, ทำให้ฉนวนที่พันหุ้มขดลวดทนต่อความร้อนสูงได้ และทำให้ฉนวนไม่ร้อนจัดเกินไปช่วยยืดอายุการใช้งานของหม้อแปลงให้นานขึ้น
5. ซิลิก้าเจล (Silica gel)
มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ สีฟ้าหรือน้ำเงินบรรจุอยู่ในกระเปาะข้างถังอะไหล่น้ำมันหม้อแปลง
ทำหน้าที่ช่วยดูดความชื้นในหม้อแปลง ถ้าเสื่อมคุณภาพจะกลายเป็นสีชมพู
![](../transformer/sub1.jpg)
|
การบาลานซ์โหลดหม้อแปลง
| การป้องกันหม้อแปลง
| มาตรฐานการติดตั้งหม้อแปลง
| ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับหม้อแปลง
|
กลับไปหน้าแรกโฮมเพจออกแบบระบบไฟฟ้า
|