การป้องกันหม้อแปลง

       หม้อแปลงจำหน่ายทั่วไปจะมีค่า percent impedance ค่อนข้างต่ำคือ 4 - 6 % ด้วยจุดประสงค์เพื่อต้องการให้มี Voltage Regulation ดีคือ ไม่ว่าโหลดของหม้อแปลงจะมีมากหรือน้อยเพียงใด แรงดันของหม้อแปลงก็ไม่เปลี่ยนแปลงมาก ยังมีความสม่ำเสมอของแรงดัน แต่ผลที่ตามมาคือจะทำให้กระแสลัดวงจรค่อนข้างสูงมากจึงต้องป้องกันหม้อแปลง โดยการติดตั้งฟิวส์ทั้งด้านแรงสูงและแรงต่ำ ซึ่งมีหลักการคร่าวๆ ดังนี้

      1. หม้อแปลงแต่ละตัว ต้องมีอุปกรณ์ป้องกันโดยอิสระ
      2. พิกัดฟิวส์แรงสูงของหม้อแปลง ควรมีขนาด 2-3 เท่า ของกระแสเต็มพิกัดหม้อแปลง

      ฟิวส์แรงสูง (Dropout Fuse)
      ฟิวส์แรงต่ำ

      วัตถุประสงค์ของการใส่ฟิวส์คือป้องกันการลัดวงจร และการทำงานอย่างสัมพันธ์กัน (Co-ordination) ระหว่างฟิวส์แรงสูงและแรงต่ำ ไม่ใช่ป้องกันการ over load ของหม้อแปลง เพราะฟิวส์จะขาดที่กระแสประมาณ 2 เท่าของพิกัดฟิวส์ โดยต้องการให้ฟิวส์ในระบบแรงต่ำขาดก่อนถ้าหากเกิดการลัดวงจรในระบบแรงต่ำขึ้น

      ตัวอย่างการหาขนาดฟิวส์แรงสูงของหม้อแปลง
      หม้อแปลงขนาด 50 KVA 3 เฟส 4 สาย 22,000 - 400/230 V. จงหาขนาดฟิวส์แรงสูงที่เหมาะสม

      วิธีทำ
           คำนวณหากระแสเต็มพิกัดด้านแรงสูง = 50 KVA / (1.732 x 22 KV) = 1.3 A
           เลือกใส่ฟิวส์ขนาด 3 A.

       หน้าแรก