การสำรวจตัวอาคาร |
ในการสำรวจตัวอาคารเพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์หรือ renovate มีหลักการใหญ่อยู่ 2 เรื่อง ดังนี้ 1. สำรวจรูปแบบ โดยทำการสำรวจทั้งแบบแปลน ระบบโครงสร้าง วัสดุก่อสร้างและตกแต่ง การใช้สอยพื้นที่ องค์ประกอบหรือสิ่งของประกอบอาคาร ต้องใช้ทั้งการถ่ายรูป การสำรวจรังวัดเพื่อเขียนแบบ (Measure drawing) การบันทึกด้วยคำบรรยาย และอื่นๆ โดยเฉพาะอาคารที่เป็นอาคารอนุรักษ์ หรือโบราณสถาน เพื่อที่จะทำให้ได้ข้อมูลครบถ้วนหรือมากเพียงพอที่จะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ก่อนการบูรณะหรือปรับปรุงหรือเปลี่ยนการใช้สอยอาคารต่อไป 2. สำรวจความเสียหาย 2.1 สำรวจกำแพง - รอยแตกเนื่องจากความร้อน - รอยแตกเนื่องจากการโป่งตัวและหดตัวของดิน - รอยแตกเนื่องจากฐานรากเคลื่อนตัว - รอยแตกเนื่องจากปฏิกิริยาเคมีที่เกิดในเนื้อวัสดุ - เสียหายจากปัญหาความชื้น
|
การตรวจวัดรอยแยกแบบง่ายๆ โดยการวัดระยะระหว่างหัวตะปูในช่วงเวลาต่างๆ เป็นเวลานานพอสมควร ซึ่งอาจถึงหนึ่งปี ถ้าขนาดของรอยแยกไม่มีการเปลี่ยนแปลง สันนิษฐานได้ว่า รอยแยกนั้นเกิดจากการทรุดตัว และการทรุดตัวได้หยุดแล้ว อาจไม่ต้องทำการแก้ไขการทรุดตัว สามารถซ่อมแซมส่วนผนังที่เกิดรอยแยกได้เลย แต่หากรอยแยกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆก็สันนัษฐานได้ว่า รอยแยกเกิดจากทรุดตัวของพื้นหรือฐานราก ต้องทำการแก้ไขการทรุดตัวก่อน จึงค่อยซ่อมแซมส่วนผนังที่เกิดรอยแยก เพราะการซ่อมแซมส่วนนี้จะไม่ได้ผลถ้ายังคงมีการทรุดตัวอยู่
|
รอยแยกในผนังหรือกำแพงที่เกิดจากทรุดตัวของฐานรากในลักษณะต่างๆที่ปรากฎผลต่างกัน
ฐานรากต่อเนื่องในอาคารระบบกำแพงรับน้ำหนัก ภาพแรก ฐานรากบริเวณด้านข้างทรุดตัว ภาพที่สอง ฐานรากตรงกลางทรุดตัว
ฐานรากเดี่ยวในอาคารระบบเสาคาน ภาพแรก ฐานรากบริเวณด้านข้างทรุดตัว ภาพที่สอง ฐานรากตรงกลางทรุดตัว
|