สาเหตุที่เกิดความชื้นในอาคาร
1. การซึมหรือรั่วเข้ามาโดยตรงจากน้ำฝน
- หลังคารั่ว
- ปูนก่อปูนฉาบเสื่อมคุณภาพ
- การก่อสร้างคุณภาพต่ำ
2. ความชื้นใต้ดินถูกดึงขึ้นมา
3. การกลั่นตัวของน้ำจากอากาศภายในตัวอาคาร
4. แหล่งน้ำภายในอาคาร เช่น บ่อน้ำ ท่อประปา
ความชื้นจากใต้ดินถูกดึงขึ้นมาสู่อาคารตามแนวกำแพงและพื้น โดยธรรมชาติของน้ำและความชื้นที่จะเกิดแรงดึงดูดขึ้นสู่ด้านบนถ้าวัสดุที่สัมผัสกับมันมีลักษณะเป็นหลอดเล็กๆเรียกว่า Capillary Suction
โดยที่ระดับน้ำจะขึ้นสูงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ
1.วัสดุ
2.ขนาดของโพรงหรือหลอด
3.ปริมาณน้ำหรือความชื้น
ลักษณะของความชื้นจากใต้ดิน
1. เป็นการสะสมความชื้นภายในกำแพง โดยนำพาสารละลายเกลือ เกิดการตกผลึกเป็นคราบขาว(ซัลเฟต)หรือจ้ำๆ(คลอไรด์และไนเตรด)
2. เป็นการเคลื่อนตัวของน้ำตามแรงดึงดูดในหลอดเล็ก น้ำจะถูกดึงเข้ามาในรูพรุนของก้อนก่อ กระจายทุกทิศทาง
3. การระเหยออกของความชื้นเกิดขึ้นทั่วทั้งผืน ทำให้ความชื้นเคลื่อนสูงได้ในระดับหนึ่ง เป็นระดับที่เกิดสมดุลย์ของปริมาณความชื้นที่ขึ้นมากับปริมาณความชื้นที่ระเหยออก
4. ปริมาณความชื้นจากดินขึ้นอยู่กับความหนาของกำแพงด้วย ยิ่งหนายิ่งมาก ทำให้กำแพงหนาต้องการพื้นที่ระเหยออกมากกว่ากำแพงบาง หรือ ระดับความชื้นในกำแพงหนาจะสูงกว่าในกำแพงบาง
1. ส่วนบนสุดของระดับความชื้น จะเกิดความชื้น-แห้วสลับกันตลอดเวลา ทำให้สารละลายเกลือที่มากับความชื้นเกิดการตกผลึกเป็นคราบตลอดแนว
2. ผลึกเกลือทำความเสียหายให้กำแพง เพราะผลึกเกลือจะดันเนื้ออิฐ ปูนก่อ และปูนฉาบแตกร่วนและหลุดออก
3. ใต้แนวนี้ลงไป เกลือยังอยู่ในสภาพสารละลายไม่ทำความเสียหายให้กำแพง
การแก้ปัญหาที่ผิดวิธีคือการฉาบผนังด้วยปูนซิเมนต์ อาจเพราะไม่รู้ว่าผนังเสียหายจากความชื้นใต้ดิน หรือ อาจคิดว่าปูนซิเมนต์ช่วยหยุดการระเหยของความชื้น ปูนซิเมนต์เนื้อแน่นกว่าปูนขาวที่โบราณใช้ น้ำระเหยออกไม่ได้ กลายเป็นการเร่งให้ความชื้นขึ้นสูงขึ้นไปอีก ต้องแก้ปัญหาความชื้นขึ้นสู่ผนังโดยการป้องกันหรือตัดความชื้นก่อน แล้วจึงฉาบซ่อมผนัง และควรใช้ปูนขาวชนิดเดียวกับของเดิม
(หน้าต่อไป)