Welcome to Montri ngaodet 's Web

มาตรฐานการต่อลงดินตาม IEC 60364-3

 

การต่อลงดินของระบบไฟฟ้า ตามมาตรฐาน IEC 60364-3 มีกี่แบบ และเมืองไทยใช้แบบไหนอยู่ และทำไมต้องต่อ Neutral กับ Ground เข้าด้วยกันที่ MDB เพียงจุดเดียว อ้างอิงมาจากมาตรฐานออะไร ?

 

ก่อนอื่นต้องมาทำความรู้จักมาตรฐานการต่อลงดิน ตามมาตรฐาน IEC 60364-3 ซึ่งใช้เป็นมาตรฐานที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกในทุกวันนี้ โดยในมาตรฐานได้แบ่งการต่อลงดินของระบบไฟฟ้าด้วยตัวอักษร 2 ตัว และสามารถแบ่งแยกได้เป็น 5 รูปแบบ

 

----------------------------------------

 

* อักษรตัวแรก แสดงความสัมพันธ์ ของระบบจ่ายไฟฟ้า กับการต่อลงดิน ดังนี้

 

T หมายถึง การต่อระบบไฟฟ้า หรือส่วนที่มีไฟ ต่อลงดินโดยตรง

 

I หมายถึง การต่อระบบไฟฟ้า หรือส่วนที่มีไฟ แยกจากดินโดยตรง หรือต่อลงดินผ่านตัวความต้านทาน หรือ อิมพีแดนซ์ (Impedance)

 

----------------------------------------

 

** อักษรตัวสอง แสดงความสัมพันธ์ ของตัวนำที่ปกติไม่มีไฟ หรือที่เรียกว่าตัวนำที่เปิดโล่ง เช่น โครงสร้างที่เป็นเหล็กของอุปกรณ์ไฟฟ้า กับการต่อลงดิน ดังนี้

 

T หมายถึง การต่อลงดินโดยตรงของโครงสร้างที่เป็นเหล็กของอุปกรณ์ไฟฟ้า และหลักดินแยกต่างหากจากหลักดินของระบบไฟฟ้า หรือส่วนที่มีไฟ

 

N หมายถึง การต่อลงดินของโครงสร้างที่เป็นเหล็กของอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยต่อรวมกับหลักดินของระบบไฟฟ้า หรือส่วนที่มีไฟ

 

*** ซึ่งในระบบ TN จะมีตัวอักษรเพิ่มเติมอีกหนึ่งหรือสองตัว ซึ่งเป็นตัวกำหนดวิธีการต่อสายนิวทรัล (Neutral : N) กับสายตัวนำป้องกัน (Protection conductor : PE) หรือที่เรียกว่าสายดินนั้นเอง ***

 

----------------------------------------

 

1) ระบบ TT (ประเทศที่มีการต่อลงดินระบบ TT เช่น ญี่ปุ่น, เบลเยี่ยม, สเปน, ฝรั่งเศส, อิตาลี, โปรตุเกส หรือ ในบ้านเมืองไทยที่เห็นอยู่บ่อยๆ เช่น ตู้เย็น, เครื่องซักผ้า หรือเครื่องทำน้ำเย็น ที่มีการต่อลงดินของตัวถังอุปกรณ์ลงดินโดยตรง ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง เพราะอะไรลองอ่านไปให้ถึงระบบการต่อลงดินแบบ TN-C-S ซึ่งเมืองไทยใช้การต่อลงดินแบบนี้หลักจากตู้ประธานของระบบ เป็นต้น)

 

----------------------------------------

 

2) ระบบ IT (ประเทศที่มีการต่อลงดินระบบ IT เช่น นอร์เวย์ หรือในเมืองไทย ที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้นำระบบการต่อลงดินแบบนี้มาใช้กับหม้อแปลงจำหน่ายที่เรียกว่า การต่อ NGR : Neutral ground resistance เพื่อลดค่ากระแสลัดวงจร เป็นต้น)

 

----------------------------------------

 

3) ระบบ TN-C เป็นระบบที่สายนิวทรัล และสายดิน ร่วมกันเป็นตัวนำชุดเดียวกันตลอดทั้งระบบ

 

(ในเมืองไทย ก็นำการต่อลงดินแบบนี้ในสายส่งไฟฟ้า และมีการต่อลงดินเป็นช่วงๆ เพื่อรักษาระดับแรงดันให้คงทีหากเกินกระแสผิดพร่องขึ้น ที่เกิดจากฟ้าผ่าลงสาย หรือ กิ่งไม้พาดโดยสาย ซึ่งจะไม่ทำให้สายช่วงอื่นมีแรงดันที่ไม่คงที่จากเหตุการณ์ลัดวงจรหรือกระแสเกิดตามไปด้วย)

 

----------------------------------------

 

4) ระบบ TN-S เป็นระบบที่สายนิวทรัล และสายดิน แยกออกจากกันตลอดทั้งระบบ

 

----------------------------------------

 

5) ระบบ TN-C-S เป็นระบบที่ผสมระหว่าง TN-C และ TN-S เข้าด้วยกัน

 

คือ

 

- ระหว่างหม้อแปลงถึงตู้ประธานหลัก สายนิวทรัล และสายดิน จะใช้สายตัวนำเส้นเดียวร่วมกัน

- ตั้งแต่ตู้ประธานหลัก สายนิวทรัล และสายดิน จะแยกตัวนำกันตลอดทั้งระบบ แต่จะมีการต่อถึงกันที่ บัสบาร์ นิวทรัล (N) และ กราวด์ (G) ที่ตู้ประธานของระบบ (MDB)

 

(ประเทศที่มีการต่อลงดินระบบ TN-C-S เช่น เยอรมัน, สหรัฐอเมริกา และ สำหรับประเทศไทย ตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า ของ วสท. นั้น กำหนดให้ระบบ TN-C-S เป็นการต่อลงดินของระบบแรงต่ำ ซึ่งสายนิวทรัลจะต่อถึงกันกับสายดินที่ตู้ MDB และห้ามต่อลงดินที่จุดอื่นอีก เพราะจะทำให้อุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วทำงานผิดพลาดได้ )

 

ติดต่อ ผศ.มนตรี  เงาเดช

montri@rmutl.ac.th  / montri2007@gmail.com

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่

 

สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์

  เจ็ดลิน : 128 ถนนห้วยแก้ว อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300 โทรศัพท์ 0-5392-1444 ต่อ 2124 โทรสาร 0-5321-3183

  เจ็ดยอด : 95 ถนนเชียงใหม่-ลำปาง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300โทรศัพท์ 0-5341-4250 - 2 โทรสาร 0-5341-4253

 

[ Since 06 / 09 / 2015 ]

Copyright © 2015 by montri. All Rights Reserved.

System Requirement :: Internet Explorer  or Netscape Navigator or Google Chrome | 1024x768 Resolution