Welcome to Montri ngaodet 's Web

มาตรฐานการส่องสว่างของ IESNA (Illuminating Engineering Society of North America)

 

แสงสว่าง มีความจำเป็นต่อพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนทุกคนในสังคม ไม่ว่าจะในด้านของการทำงาน หรือการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น อ่านหนังสือ เย็บผ้า ทำอาหาร ฯลฯ ล้วนแต่ต้องการแสงสว่างที่เพียงพอกับการใช้งานนั้นๆ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ออกแบบอาคารที่จำเป็นต้องทำให้ผู้ใช้งานได้รับแสงสว่างที่เพียงพอต่อการใช้งาน แต่เราจะไม่มีทางรู้เลยว่า แสงสว่างขนาดไหนจึงจะเพียงพอต่อการใช้งาน จนกว่าเราจะศึกษาด้วยตัวเองอย่างแท้จริง หรือจะเลือกใช้มาตรฐานการส่องสว่างที่มีผู้ศึกษาหาความรู้ในด้านการส่องสว่างจากการใช้งานจริงมาเรียบร้อยแล้ว

 

IESNA เป็นสมาคมวิศวกรรมส่องสว่างที่มีสมาชิกมากมายกว่า 8,000 คนจากทั่วทุกมุมโลก ร่วมมือกันสนับสนุนเรื่องการส่องสว่างให้อยู่ภายใต้มาตรฐาน ซึ่งมาตรฐานการส่องสว่างของ IESNA ในหลายๆประเทศวางใจ และใช้มาตรฐานนี้เป็นเกณฑ์ในการออกแบบการส่องสว่าง IESNA ย่อมาจาก The Illuminating Engineering Society of North America ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรที่พัฒนาและเผยแพร่มาตรฐานต่างๆในเรื่องของแสงสว่าง สำนักงานใหญ่ของ IESNA ตั้งอยู่ที่รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา สนับสนุนเรื่องการส่องสว่างให้อยู่ภายใต้มาตรฐานนี้

 

พันธกิจของ IESNA

เสาะหาวิธีที่จะพัฒนาสภาพแวดล้อมของแสงสว่าง โดยการนำความรู้เรื่องแสง และการถอดความรู้เหล่านั้นนำมาผสมผสานกันแล้วทำออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ

 

วิสัยทัศน์

IES จะสร้างยุคแห่งความเป็นเลิศในการสร้างสรรค์ชุมชนของแสงสว่าง อุทิศตนให้กับการสนับสนุนศาสตร์และศิลป์ของคุณค่าของแสง เคียงข้างองค์กรที่อยู่ในสายอาชีพ และสาธารณะ

 

ที่มาและความสำคัญ

ความสำคัญของวิศวกรรมส่องสว่าง ทำให้เราสามารถบริหารจัดการพื้นที่ในอาคาร รวมถึงนอกอาคารให้

เราได้รับประโยชน์จากแสงสว่างได้คุ้มค่า และมีประสิทธิภาพที่สุด การเข้าใจเรื่องของวิศวกรรมส่องสว่าง จำเป็นต้องมีความรู้ต่อไปนี้ เช่น หลักการวัดการกระจายแสงของดวงโคม, การนำเสนอข้อมูลการกระจายแสง, รายละเอียดข้อมูลทางแสง ของดวงโคมประเภทต่างๆ ได้แก่ ดวงโคมใช้งานในอาคาร โคมไฟส่อง โคมไฟถนน อธิบายที่มา และความสำคัญของมุมตัน, นิยาม และการคำนวณหาฟลักซ์ส่องสว่าง และความสว่าง, ความสำคัญของกฎกำลังสองผกผัน และกฎโคไซน์ในเรื่องการส่องสว่าง, การใช้กฎกำลังสองผกผัน และกฎโคไซน์คำนวณความสว่างบนระนาบต่างๆ ที่

เกิดจากดวงโคมใช้งานในอาคาร และโคมไฟส่อง นอกจากนี้ ได้กล่าวถึง สัมประสิทธิ์การใช้ประโยชน์แสง และการคำนวณหาค่าดังกล่าว ตามวิธีของ IESNA

 

สิ่งที่เราควรทำความเข้าใจ

- ดวงโคมไฟฟ้า ในที่นี้คือใช้ในการทดสอบหมายถึง อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการกระจายแสงที่เปล่งออก มาจากหลอดเปลือย เพื่อให้แสงสว่างตกไปในทิศทาง ที่ต้องการ ประกอบไปด้วยส่วนประกอบที่สำคัญ คือ ตัวสะท้อนแสง (Reflector), ตัวหักเหแสง (Refractor), และฝาครอบดวงโคม (Housing)

 

ดวงโคมไฟฟ้าที่จะทำการทดสอบออกเป็น 3 ประเภท ด้วยกัน คือ

  - ดวงโคมภายใน (Interior Luminaires) สำหรับ ติดตั้งภายในอาคาร

 

- ดวงโคมฉาย (Floodlight Luminaires) สำหรับติดตั้งสนามกีฬา, สระว่ายน้ำ ฯลฯ

- ดวงโคมไฟถนน (Roadway Luminaires) สำหรับติดตั้งตามถนนทั่วไป ให้แสงสว่างยามค่ำคืน

ปริมาณทางการส่องสว่าง ปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการส่องสว่างมีมากมาย แต่เราจะกล่าวถึงเฉพาะที่สำคัญ 4 ค่าเท่านั้นประกอบด้วย ฟลักซ์ส่องสว่าง, ความเข้มแสง, ความเข้มส่องสว่าง และความส่องสว่าง

 

- ฟลักซ์ส่องสว่าง (Luminous Flux ; Lumen) คือปริมาณของแสงที่แพร่กระจายออกจากแหล่งกำเนิด แสง หรือปริมาณของแสงที่ฉายลงบนพื้นผิวหนึ่ง มีหน่วย เป็นลูเมน (Lumen ; lm)

- ความเข้มแสง (Illuminance ; E ; Lux) คือ ฟลักซ์ส่องสว่างที่ตกกระทบส่วนย่อยหนึ่งของพื้นที่ผิว นั้นหารด้วยพื้นที่ของส่วนย่อยนั้น

มีหน่วยเป็น ลักซ์ ( Lux ; lx ) ถ้าพื้นที่มีหน่วยเป็นตารางเมตร

หรือฟุตแคนเดล (Footcadle;fc) ถ้าพื้นที่มีหน่วยเป็นตารางฟุต

โดย 1 ฟุตแคนเดล = 10.764 ลักซ์

 

- ความเข้มส่องสว่าง (Luminous Intensity ; I ; Cd) คือ ฟลักซ์ส่องสว่างที่ออกจากแหล่งกำเนิดแสง และ กระจายในส่วนย่อยของมุมเชิงของแข็งในทิศทางที่กำหนด ต่อส่วนย่อยของมุมเชิงของแข็งนั้น มีหน่วยเป็นแคนเดลา (Candela ; Cd)

 

- ความส่องสว่าง (Luminance; L ; Cd/m2) คือ ฟลักซ์ส่องสว่างต่อหน่วยของพื้นที่ที่ตกกระทบ และ หน่วยของมุมเชิงของแข็ง ไม่ว่าจะออกจากพื้นผิวที่กำหนด หรือมาถึงพื้นที่ผิวที่กำหนดให้จากทิศทางที่กำหนด มีหน่วย แคนเดลาต่อตารางเมตร(Candela/m2)

หลักการและวิธีการ

1. หาลักษณะการกระจายแสง โดยทางอ้อมแบบอาศัยกระจกหมุน (Indirect Mirror-Gonio Photometer) เนื่องจากวิธีนี้มีข้อดีหลายประการคือ สามารถทำ การวัดกับดวงโคมได้หลากหลายชนิด, มีความถูกต้อง แม่นยำในการวัดสูง, สะดวกในการติดตั้งดวงโคมที่จะทำ การทดสอบ, ใช้พื้นที่ในการทดสอบน้อย, และสามารถควบคุมการทำงานให้เป็นแบบอัตโนมัติได้เกือบ 100 % ในบทความนี้แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนหลักๆ ได้แก่

1. ส่วนของโครงสร้าง ( Hardware Component ) อันประกอบไปด้วยห้องที่ใช้ในการทดสอบ, ตัวจับยึดโคม, ตัวรับแสง, ดวงโคมไฟฟ้าที่ใช้ในการทดสอบ, มิเตอร์ที่ใช้ ในการวัดค่าพารามิเตอร์ต่างๆ, กระจกที่ใช้ในการสะท้อนไป ยังตัวรับแสง รวมไปถึงสภาพแวดล้อมภายในห้องทดสอบ ด้วย

2. ส่วนของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software Component) เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อใช้ในการควบคุมการทำงานของระบบทั้งหมดที่ใช้ในการวัด เพื่อหาลักษณะการกระจายแสงของดวงโคมไฟฟ้า ตั้งแต่เริ่มทำการวัด จนกระทั่งเก็บค่าข้อมูลที่ได้จากการวัดในรูปแบบมาตรฐาน (IESNA File Format) โดยการทำงานจะเป็นแบบ อัตโนมัติทั้งหมด

การวัดค่าปริมาณทางแสงโดยใช้เครื่อง วัดทางอ้อมแบบอาศัยกระจกหมุน (Indirect Mirror-Gonio Photometer) อาศัยหลักการสะท้อนของแสงสว่าง โดย กระจกเงาจะทำหน้าที่สะท้อนแสงจากแหล่งกำเนิดมายังจุดรับแสงของตัวรับแสง โดยมีฉากกั้นแสงคอยป้องกันไม่ให้แสงที่มาจากแหล่งกำเนิดแสงผ่านมายังตัวรับแสง โดยตรง เราจึงเรียกวิธีนี้ว่าเป็นการวัดแสงทางอ้อม

 

โดยเครื่องจะมีแกนหมุนในแนวดิ่งสำหรับหมุน ดวงโคมที่ทำการทดสอบเป็นการปรับเปลี่ยนมุมในระนาบ แกนนอน (C plane) ไปยังตำแหน่งที่ต้องการทดสอบ ซึ่ง สามารถกำหนดความละเอียดในการวัดได้เช่นเดียวกัน กับการหมุนแขนของกระจก เพื่อเป็นการปรับเปลี่ยน มุมในระนาบแนวตั้ง (g plane) ซึ่งทั้งสองระนาบเป็นการ วัดค่าปริมาณทางแสงตามระบบอ้างอิง C-g Coordinate

 

2. ค่าปริมาณทางแสงที่วัดได้จากเครื่องนั้นจะถูก บันทึกข้อมูลลงสู่คอมพิวเตอร์ ควบคุมโดยโปรแกรมที่ได้เขียนขึ้นสำหรับควบคุมเครื่องโดยเฉพาะ โดยข้อมูล ที่ได้รับนั้นจะถูกเก็บบันทึกเป็นรูปแบบมาตรฐาน เรียกว่า รูปแบบการเก็บข้อมูลการกระจายแสงดวงโคมไฟฟ้า (IESNA Standard File Format Data Storage ; IES Files) เป็นรูปแบบการเก็บข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับและนิยมใช้กัน ทั่วโลก ซึ่งเราสามารถนำแฟ้มข้อมูลดังกล่าว ไปใช้ในการ ออกแบบและวิเคราะห์ระบบแสงสว่างได้ตามที่เราต้องการ ต่อไป

 

ส่วนของโปรแกรมจะทำหน้าที่ในการควบคุม ลำดับขั้นตอน การทำงานของตัวเครื่องให้เป็นไปอย่าง ถูกต้องและแม่นยำ นอกจากนั้นยังทำหน้าที่ช่วยในการ คำนวณและนำเสนอผลการทดสอบที่ได้จากการวัดออกมา ในรูปของรายงานการทดสอบในรูปแบบต่างๆ เพื่อสะดวกใน การวิเคราะห์เบื้องต้น และการใช้งานอีกด้วย ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการทดสอบ

เคล็ดลับในการหาค่าปริมาณทางแสงอย่างมีประสิทธิภาพ

ควบคุมปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อค่าปริมาณ ทางแสงที่วัดได้ ให้มีความผิดเพี้ยนน้อยที่สุด

- ตัวรับแสง (Photocell) และ ดวงโคมไฟฟ้า (Luminaires)

- ต้องอยู่ในระยะพิกัด (Co-ordinate) ที่ถูกต้อง โดยที่ศูนย์กลางของดวงโคมที่เรา จะทำการทดสอบต้องอยู่ในแนวแกนเดียวกันกับตัวรับแสง

- ความผิดพลาดเชิงมุมของแกนหมุนทั้งสองต้องไม่เกิน 0.5 องศา

- กระจกต้องเรียบ และ ไม่มีการบิดหรืองอตัวขณะทำการทดสอบ

- ระยะทางระหว่าง ดวงโคมทดสอบกับตัวรับแสงที่ใช้ต้องไม่ต่ำกว่า 5 เท่า ของ มิติสูงสุดของดวงโคมไฟฟ้าที่ทดสอบ

- กรณีของ หลอดขนาด 400 วัตต์ ขึ้นไป Stray light (แสงจากแหล่งอื่นๆ) เช่น กำแพง ผนัง เพดาน แสงสะท้อนจากตัวเครื่องทดสอบเอง หรือแสง เล็ดลอดจากภายนอก ล้วนแล้วแต่มีผลทำให้ค่าปริมาณ ทางแสงที่วัดได้ผิดเพี้ยนไปทั้งสิ้น ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดก็น่าจะเป็น การวัดค่าของแสงรบกวนจากแหล่งอื่นๆ ที่เกิดขึ้น และจะ กระทบกับตัวรับแสง จากนั้นค่อยนำมาทำการชดเชยค่า เพื่อหักล้างความผิดพลาดที่เกิดขี้นอีกทีหนึ่ง

- Response Photocell หมายถึง ตัวรับแสงที่จะใช้ในการวัดจะต้องตอบสนอง Spectrums ของแสง ที่ใกล้เคียงกับที่ตาคนเรามองเห็นให้มากที่สุด มิฉะนั้น จะเกิดความผิดพลาดจากการวัดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การวัดแสงที่เป็นสีต่าง ๆ

- ต้องมีการตรวจสอบดูค่ากำลังงานไฟฟ้าที่ป้อนเข้าให้กับดวงโคมที่ทำการ ทดสอบอยู่ตลอดเวลา เพื่อดูความเป็นไปในทุกตัวแปร ที่มีผลกระทบพารามิเตอร์ ทั้งแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และกำลังไฟฟ้าที่ใช้ไปในแต่ละส่วนได้

ในปัจจัยนี้มีข้อ แตกต่างกันของการวัดปริมาณทางแสงของ 2 ระบบ นั่นคือ

- IESNA System จะทำการตรวจสอบและควบคุม ให้พิกัดกำลังที่ป้อนเข้าดวงโคมไฟฟ้าที่ทำการทดสอบมีค่าคงที่

จากผลการวิจัย พบว่า เปอร์เซ็นต์ความเพี้ยนที่ เกิดจากการควบคุมให้พิกัดกำลังคงที่โดยเฉลี่ยมีค่าน้อยกว่า ที่เกิดจากการควบคุมให้พิกัดแรงดันคงที่ แต่ระบบการ ควบคุมแรงดันคงที่ยังเป็นที่นิยม เนื่องจากสามารถสร้าง ระบบ และทำการควบคุมได้ง่ายกว่า

- Accuracy and linearity of meters เครื่องมือที่ใช้ ในการวัด ควรจะเป็นเครื่องมือที่มีความน่าเชื่อถือได้ค่อน ข้างสูง และควรที่จะมีการ Calibrate เครื่องมือที่ใช้อย่างน้อย ทุกๆ 2 ปี Environment สภาพแวดล้อมจากภายนอกก็ส่ง ผลกระทบถึงปริมาณทางแสงที่วัดได้เช่นกัน ในที่นี้จะ กล่าวถึงเพียง 2 ปัจจัยที่มีผลค่อนข้างมาก นั่นคือ

1. ผลจากอุณหภูมิหลอดแก๊สดิสชาร์จมีความไว ต่ออุณหภูมิค่อนข้างมาก พบว่า ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงของ อุณหภูมิไปจากอุณหภูมิที่เหมาะสมเพียงน้อยนิด ค่าฟลักซ์ ที่ออกมาจากหลอดก็จะลดลงตามไปด้วย ดังนั้นจึงต้องมี การควบคุมอุณหภูมิไว้ที่อุณหภูมิห้อง (25oC+1) และควรที่จะมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศและเทอร์โมมิเตอร์ไว้ใน จุดที่ใกล้จุดติดตั้งดวงโคมด้วย เพื่อตรวจสอบอุณหภูมิที่จะ ส่งผลกระทบกับปริมาณทางแสงที่จะผิดเพี้ยนไปได้

2. ความชื้นสัมพัทธ์จะมีผลโดยตรงกับประสิทธิภาพ ของหลอดที่ใช้ในการทดสอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณี ของหลอดฟลูออเรสเซนต์ ค่าความชื้นสัมพัทธ์ที่ยอมรับได้ ไม่ควรจะมีค่าเกินกว่า 65%

- Ballast Performance เป็นความเพี้ยน ซึ่งเกิด จากบัลลาสต์แต่ละตัว ที่แม้จะผลิตจากโรงงานเดียวกัน แต่ประสิทธิภาพในการทำงานของบัลลาสต์แต่ละตัว ไม่เท่ากัน ซึ่งแก้ไขได้โดยการใช้ค่าของบัลลาสต์แฟกเตอร์ มาทำการแก้ไข

- Man & Knowledgement ไม่มีระบบใดๆ ในโลก ที่จะทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ไร้ที่ติ ดังนั้นการที่จะทำงาน กับเครื่องมือวัดดังกล่าวให้ได้ผลที่ถูกต้อง และแม่นยำที่สุด ก็จำเป็นจะต้องใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ด้วย เพื่อให้ได้ผลการทดสอบที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

 

ติดต่อ ผศ.มนตรี  เงาเดช

montri@rmutl.ac.th  / montri2007@gmail.com

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่

 

สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์

  เจ็ดลิน : 128 ถนนห้วยแก้ว อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300 โทรศัพท์ 0-5392-1444 ต่อ 2124 โทรสาร 0-5321-3183

  เจ็ดยอด : 95 ถนนเชียงใหม่-ลำปาง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300โทรศัพท์ 0-5341-4250 - 2 โทรสาร 0-5341-4253

 

[ Since 06 / 09 / 2015 ]

Copyright © 2015 by montri. All Rights Reserved.

System Requirement :: Internet Explorer  or Netscape Navigator or Google Chrome | 1024x768 Resolution