Welcome to Montri ngaodet 's Web

การส่องสว่างภายใน

· ระบบการให้แสงสว่างหลัก คือ การออกแบบระบบแสงสว่างให้มีความส่องสว่างเพียงพอตามมาตรฐานเพื่อการใช้งานในแต่ละพื้นที่นั้น ๆ

· ระบบการให้แสงสว่างรอง คือการออกแบบให้มีแสงสว่างให้เกิดความสวยงามหรือเน้นเพื่อให้เกิดความสนใจ สบายตา และ อารมณ์

· การให้แสงสว่างที่ดี ควรมีทั้งระบบการให้แสงสว่างหลักและแสงสว่างรอง

 

การส่องสว่างภายในบ้านอยู่อาศัย อพาร์ตเมนต์ และ โรงแรม

 

· แสงจากหลอดที่ให้แสงสีเหลืองดูน่าอบอุ่นสำหรับบ้านและโรงแรม

· ความส่องสว่างสำหรับพื้นที่ทั่วไปใช้ 100 - 200 ลักซ์

· โคมไฟส่องลงหลอดGLS 100 วัตต์ที่ความสูงฝ้า 2.4 - 2.7 เมตรติดตั้งห่างกันทุกๆ ระยะ 2 - 2.5 เมตร ให้ความส่องสว่างที่พื้นเฉลี่ย 100 ลักซ์

· ไม่ควรใช้ไฟเกินกว่า 80 % ของอัตราสวิตช์หรี่ไฟ

· การใช้โคมไฟระย้าควรมีโคมไฟชนิดอื่นช่วยให้แสงหลักด้วยเพื่อลดเงาที่เกิดเนื่องจากโคมไฟระย้า

· โคมระย้าใช้ 20 -25 วัตต์/ตารางเมตร/ 100 ลักซ์ และควรติดตั้งสวิตช์ไฟหรี่ด้วย

· การใช้โคมไฟระย้าควรระวัง ความสูงฝ้า และ นำหนักโคมระย้า

· โคมระย้าใช้ขนาดประมาณ 1/12 ของเส้นทแยงมุมห้อง

· ช่องเปิดไฟหลืบควรมีขนาดอย่างน้อย 1/10 ของขนาดเบ้า

· ไฟหลืบฟลูออเรสเซนต์ใช้ 8 - 12 วัตต์/ตารางเมตร/ 100 ลักซ์

· การให้แสงสว่างจากหลืบเพื่อส่องสว่างพื้นที่ควรมีเพดานสีขาวหรือสีอ่อนมิฉะนั้นแล้วแสงจากไฟหลืบที่เพดานเป็นสีทึบก็เป็นเพียงไฟตกแต่งเท่านั้น

 

การส่องสว่างในสำนักงาน

 

· สำนักงานทั่วไปมักใช้โคมไฟตัวสะท้อนแสงอะลูมิเนียม ห้องหรือบริเวณสำคัญที่ไม่ต้องการแสงบาดตาก็ควรใช้โคมแบบมีตัวกรองแสงขาวขุ่นหรือแบบเกล็ดแก้ว ( Prismatic Diffuser)

· ถ้าปิดเปิดไฟแสงสว่างของหลอดประเภทดิสชาร์จพร้อมๆ กันหลายๆ หลอดด้วยเบรกเกอร์ ไม่ควรใช้กระแสรวมมากกว่า 50% ของอัตราเบรกเกอร์

· ฟลูออเรสเซนต์ไม่เหมาะสำหรับเพดานที่สูงเกิน 7 เมตรขึ้นไปเพดานที่สูงควรใช้โคมไฮเบย์ (High Bay)

· พื้นที่งานที่ต้องการความส่องสว่างสูงมาก 1000 - 2000 ลักซ์ควรให้แสงสว่างจากโคมตั้งโต๊ะหรือใต้ตู้แทนที่จะให้จากโคมที่เพดาน

 

ความส่องสว่าง

· ถ้าเพดานสูงน้อยกว่า 4 เมตร ควรใช้โคมฟลูออเรสเซนต์

· ถ้าเพดานสูงระหว่าง 4 - 7 เมตร อาจใช้โคมโลเบย์

· ถ้าเพดานสูงมากกว่า 7 เมตร ควรใช้โคมไฮเบย์

· การใช้หลอดเมทัลฮาไลท์ขนาดวัตต์ต่างกันในพื้นที่เดียวกันอาจมีปัญหาในเรื่องสีของหลอดไม่เหมือนกันจนสังเกตได้

· การใช้หลอดปรอทความดันสูงอาจมีปัญหาในเรื่องแสงสีน้ำเงินที่ออกมามากในช่วงติดตั้งเริ่มแรก แต่จะจางลงเมื่อติดตั้งไปหลายเดือนแล้ว

· การใช้หลอดโซเดียมในโรงงานอุตสาหกรรมใช้ในกรณีไม่พิถีพิถันเรื่องสี

· การให้แสงสว่างแบบทั่วไปเหมาะกับงานที่ต้องการเปลี่ยนแปลงหรือเคลื่อนย้ายเครื่องจักรหรือที่ทำงานตลอดเวลา

· การให้แสงสว่างแบบทั่วไปเฉพาะบริเวณใช้กับงานที่ไม่มีการเคลื่อนย้าย

· การให้แสงสว่างเฉพาะที่มักใช้กับงานที่ต้องการความส่องสว่างสูง

· การวางโคมฟลูออเรสเซนต์ให้วางแนวยาวตามทิศทางการมอง

 

ความส่องสว่างในโรงเรียน

 

· โคมประเภทมีครีบ (Fin Louver) ใช้ในโรงเรียนเพราะให้แสงบาดตาน้อย

· ห้องบรรยายควรจัดโคมและสวิตช์ดังนี้

1.โคมฟลูออเรสเซนต์วางตามทิศทางการมอง

2.ความส่องสว่างในห้อง 500 ลักซ์ และหน้าเวที 700 ลักซ์

3.การจัดสวิตช์ให้ปิดเปิดโคมตามแนวยาวและกลุ่มโคมที่หน้าห้องด้วย

 

ความส่องสว่างในโรงพยาบาล

 

· หลอดที่เหมาะสมสำหรับการตรวจรักษาโรคทั่วไปคือหลอดคูลไวท์ ยกเว้นโรคดีซ่านที่ใช้หลอดเดย์ไลท์เหมาะกว่า

· หลอดที่ใช้ในโรงพยาบาลควรใช้หลอดเหมือนกันทั้งหมดเพื่อไม่ให้หลอกตาเนื่องจากแสงที่ไม่เหมือนกันในพื้นที่ข้างเคียงกัน

· โคมที่เหมาะสำหรับงานโรงพยาบาลในบริเวณที่มีคนไข้ คือโคมที่มีแผ่นกรองแสงขาวขุ่นหรือเกล็ดแก้ว แต่มีปัญหาเรื่องประสิทธิภาพของโคมที่ใช้ไฟฟ้ามาก

· แสงสว่างในห้องผ่าตัดควรสว่างมากเพื่อไม่ให้ต่างมากจากไฟแสงสว่างผ่าตัด

· ควรมีไฟฉุกเฉินจากแบตเตอรีในกรณีที่ไฟดับหมดรวมทั้งที่มาจากเครื่องกำเนิดด้วย

 

ความส่องสว่างในพิพิธภัณฑ์

 

· วัตถุที่ไวต่อ UV ไม่ควรให้แสงมากกว่า 120000 ลักซ์-ชม./ปี

· วัตถุที่ไม่ไวต่อ UV ไม่ควรให้แสงมากกว่า 180000 ลักซ์-ชม./ปี

 

ความส่องสว่างในร้านค้า และ ศูนย์การค้า

 

· หลอดให้แสงทั่วไปที่เหมาะกับศูนย์การค้าควรให้แสงที่ส่องทุกสีเด่น

· บริเวณที่ต้องการให้เห็นวัสดุสีขาว เช่น เครื่องเขียนควรใช้หลอดแสงสีขาว

· การส่องเน้นสินค้าไม่ควรใช้แสงสว่างสม่ำเสมอ

 

ผลการทดสอบ

จากการทำการทดสอบพบว่า จะได้ผลการทดสอบออกมาในรูปของแฟ้มของค่า ข้อมูลอักขระ (text file) โดยมีรูปแบบการจัดเก็บข้อมูล เป็นไปตามมาตรฐานของ IESNA ซึ่งทาง IESNA ได้กำหนด ให้ตั้งชื่อแฟ้มข้อมูลชนิดนี้เป็น *.ies  เราได้ยึด เอามาตรฐาน IES LM-54-1991 “IES Guide to Lamp Seasoning“ เป็นตัวที่ใช้อ้างอิง

 

สรุปผลการทดสอบ

จากการทำการทดสอบ และได้ทดลองเก็บผลของ ค่าปริมาณทางแสงพบว่า เครื่องมือวัดที่สร้างโดยใช้ หลักการของการเก็บค่าทางแสงโดยอ้อม แบบอาศัยกระจกหมุนสามารถทำการเก็บค่าข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะ การกระจายแสงได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว ซึ่งข้อมูลที่ได้เหล่านี้ก็จะนำไปประมวลผลในรูปต่างๆ ดังที่ได้ กล่าวไว้ข้างต้น เพื่อจะเป็นต้นแบบของการพัฒนาในด้านวิศวกรรมการส่องสว่างต่อไป

แสงจากภายนอกที่มีประสิทธิภาพต้องการการพิจารณาอย่างรอบคอบในหลายๆประเด็น ข้อพิจารณาแรกๆบางอัน ซึ่งถูกประเมินระหว่างกระบวนการการออกแบบได้แก่

-ให้การมองเห็นที่ดี

-เลือกระดับความเข้มข้นของแสงสว่างที่บอกถึงความงาม ซึ่งจำเป็นต่อการใช้สอย

-ควบคุมแสงที่ปล่อยออกมา สู่ท้องฟ้ายามค่ำคืน ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษทางแสง

-สร้างพื้นที่ที่ปลอดภัย

-ลดความไม่สบายตา จากแสง

-เลือกระบบควบคุมพลังงานที่มีประสิทธิภาพ

 

ติดต่อ ผศ.มนตรี  เงาเดช

montri@rmutl.ac.th  / montri2007@gmail.com

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่

 

สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์

  เจ็ดลิน : 128 ถนนห้วยแก้ว อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300 โทรศัพท์ 0-5392-1444 ต่อ 2124 โทรสาร 0-5321-3183

  เจ็ดยอด : 95 ถนนเชียงใหม่-ลำปาง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300โทรศัพท์ 0-5341-4250 - 2 โทรสาร 0-5341-4253

 

[ Since 06 / 09 / 2015 ]

Copyright © 2015 by montri. All Rights Reserved.

System Requirement :: Internet Explorer  or Netscape Navigator or Google Chrome | 1024x768 Resolution